
การสร้างระบบโซล่าเซลล์สำหรับสูบน้ำบาดาลเพื่อการทำเกษตรกรรมด้วยตนเอง
เป็นบทความที่เขียนไว้ใน Facebook เมื่อ 13ตุลาคม2563 นำมาเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหา
ลองนึกภาพดูถ้าทุกครอบครัวมีที่ดินทำกิน มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตร และมีความสามารถในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เพื่อไม่ต้องกังวลกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำ
และสามารถส่งกล้วยตากหรือข้าวเม่า ปลาร้าบองกระป๋องไปขายได้ทั่วโลก เมื่อทุกครัวเรือนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ก็คงจะงดงามมาก จะเดินไปไหนก็มีแต่คนยิ้มหน้าบาน
ไม่หุบ เดินไปทางไหนก็แทบจะหาคนที่ลำบากยากจนแทบไม่พบ มันคือดินแดนในฝันของนิยายปรัมปราของวอลดิสนี่เรื่อง
“เทพอินเวอเตอร์กับแผงโซล่าเซลล์มือสองทั้งเจ็ดแผ่น”

การพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเป็นเรื่องที่ดีที่สุด การขุดบ่อบาดาลจึงเป็นทางเลือกที่นิยมกันมากอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยให้เรามีแหล่งน้ำสำหรับ
ใช้ในการทำเกษตรกรรมของเราได้ตลอดปี ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชั้นดินและความลึกในการขุดเจาะ รวมถึงคุณภาพของน้ำที่ได้
ในแต่ละแหล่งก็จะมีความแตกต่างกันผู้เขียนขอแนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในพื้นที่ของท่านก่อน เช่นสอบถามข้อมูลจากเพื่อนบ้าน ที่เคยเจาะบ่อบาดาลแล้ว
หรือเรียกช่างในพื้นที่มาสอบถามราคาและรายละเอียดต่างๆ ใน facebook ก็มีท่านที่รับเจาะบ่อบาดาลมากมายหลายราย เราก็ควรเลือกช่างที่อยู่ในพื้นที่เพื่อที่จะได้ไม่ต้อง
เดินทางไกลหรือต้องค้างแรม ราคาก็จะไม่สูง รวมถึงช่างท้องถิ่นจะมีความชำนาญมีประสบการณ์ในพื้นที่จะให้คำแนะนำที่ดีต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ผู้เขียนขอแนะนำว่าถ้ามีงบประมาณก็ควรเลือกท่อที่มีขนาดใหญ่
เพราะเราจะมีโอกาสเลือกขนาดของปั๊มบาดาลที่เหมาะสมได้มากกว่า
คือมีตัวเลือกที่มากกว่านั่นเอง ถ้าเราเลือกท่อปากบ่อขนาดเล็ก เราก็จะ
เสียโอกาสที่จะลงปั๊มบาดาลตัวใหญ่ เป็นต้น ที่ทำงานผ่านมาที่พบปัญหา
มากที่สุดคือบ่อบาดาลเก่ารุ่นโบราณท่อขนาด3นิ้ว หาปั๊มลงยากมากๆ หรือ
บางครั้งก็พบกับบ่อแปลกๆคือข้างบนใกล้ๆผิวดินมีขนาด5นิ้ว ยิ่งลึกก็ยิ่งเล็ก
ลงไปเรื่อยๆซึ่งอาจจะพบปัญหาหย่อนปั๊มได้ไม่ลึกพอ เท่าที่พบจะเป็น
บ่อรุ่นเก่าๆโบราณแล้ว บางบ่อก็เป็นบ่อเก่าสำหรับปั๊มมือโยก ซึ่งเพื่อนๆ
ช่างเจาะบาดาลในแพจนี้ก็มีมากหลายๆท่าน ถ้าลองไปดูที่เพื่อนfacebook
ของผมอาจจะพบกับ ช่างในพื้นที่ ที่สามารถช่วยท่านได้ครับลองคุยกันดูนะครับ
อาจจะได้คำแนะนำที่ดีจากช่างผู้ชำนาญโดยเฉพาะ
เมื่อเรามีบ่อบาดาลแล้วสิ่งที่เราจะต้องทำต่อก็คือ หาเครื่องสูบน้ำบาดาลที่ดีและเหมาะสมมาใช้งาน ซึ่งในเวลานี้มีผู้นำเข้ามาจำหน่ายมากมายหลายแบรนด์
ถ้าสังเกตุดีๆแล้วโดยเฉพาะสินค้าจากเมืองจีน ก็จะมีหุ่นหรือเปลือกนอกที่คล้ายๆกัน ต่างกันตรงที่ฉลากติด หรือแบบที่เรียกกันว่าเป็นสินค้า OEM. คือชิ้นส่วนต่างๆ
จะออกมาจากแหล่งผลิตใหญ่ แล้วนำมาติดสติกเกอร์ มีตรามาตรฐานรองรับเพียบทั้งยุโรปและอเมริกา อันไหนจริงอันไหนไม่จริงก็อย่าไปสนใจมากครับ
ดูไปที่คุณภาพความเรียบร้อยของการประกอบสินค้าและที่สำคัญที่สุดคือต้องนำมาทดสอบ อัดกันดูเสียก่อนว่า สามารถทำงานได้ตามฉลากที่ระบุหรือไม่
และราคาน่าสนใจเพียงใด คือของดีต้องลองได้ครับ
ส่วนมากผู้ขายในต่างประเทศจะจัดคู่เอาไว้ให้เราเรียบร้อยแล้วทั้งปั๊มบาดาลและกล่องควบคุมในการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายและติดฉลากเป็นสินค้าของเรา
แล้วก็หมายถึงเราต้องมีความรับผิดชอบต่อสินค้านั้นตลอดอายุการใช้งาน บางรายก็ขายแบบ DIY.ก็คือซื้อไปแล้วเอาไปต่อเองประกอบเองไม่มีการรับประกัน
เพราะไม่มีใครทราบได้ว่าต่อผิด หรือต่อถูก วงจรถูกต้อง กระแสเกินหรือต่อผิด เกิดความเสียหาย แบบนี้คนขายก็รับประกันไม่ไหวครับ แต่ถ้าเป็นท่านที่มีความรู้
ก็จะได้เปรียบประหยัดงบประมาณไปได้มาก ต้องทำความเข้าใจกันตั้งแต่ต้น ถ้าซื้อสินค้าแบบDIY.ราคาไม่แพง แต่ต้องต่อและประกอบวงจรเป็น ถ้าไม่มั่นใจก็ซื้อ
แบบประกอบมาสำเร็จพร้อมติดตั้ง มีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องปวดใจของคนที่ทำงานระบบโซล่าเซลล์ เพราะในตลาดปัจจุบันมีร้านค้า
ออนไลย์มากมายที่ขายสินค้าแบบเดียวกันแต่ราคาต่างกัน ผู้ซื้อเองก็ควรพิจารณาให้เป็นกลาง ถ้าเราจะซื้อแบบ DIY.ราคาถูกแต่มีงานที่ต้องทำเองมากมาย
และบางอย่างก็ต้องมีทักษะทางช่างมากพอสมควร แต่ถ้าซื้อแบบติดตั้งเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ราคาก็จะสูงกว่าเพราะมีค่าดำเนินการ ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์
การเดินสายและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ เมื่อเข้าใจตรงกันก็จะมีความสุขสมหวังทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ในการที่จะสูบหรือดึงน้ำบาดาลของเราขึ้นมาใช้ประโยชน์เราต้องอาศัยอุปกรณ์สำคัญคือปั๊มบาดาล ซึ่งจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเพื่อทำให้สามารถ
หย่อนลงไปในท่อของบ่อบาดาลซึ่งจะมีอยู่2แบบที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางคือ

1)แบบใบพัด
แบบใบพัดนี้จะได้ปริมาณน้ำมากเหมาะกับบ่อบาดาลที่มีระดับน้ำจับท่อ
(หมายถึงระดับน้ำใต้ดินที่ล้นขึ้นมาตามท่อของบ่อบาดาล วัดจากระดับพื้นดิน
ถึงผิวน้ำในบ่อ) ยิ่งมีจำนวนใบพัดมากก็ยิ่งได้ปริมาณน้ำมากและแรงดันน้ำที่เพิ่มขึ้น
เหมาะกับระดับน้ำตื้นและระดับน้ำลึกปานกลาง ใบพัดมากขึ้นมอเตอร์ก็จะใหญ่ขึ้นด้วย
ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหรือจำนวนแผงโซล่าเซลล์ที่มากขึ้นตามไปด้วย

2) แบบสกรู หรือแบบเกลียวรีดน้ำ
แบบสรูหรือแบบเกลียวรีดน้ำนี้ จะใช้สำหรับบ่อบาดาลที่มีระดับน้ำจับท่อลึกมาก
สำหรับผู้เขียนจะเลือกใช้ปั๊มแบบนี้กับบ่อบาดาลที่มีระดับน้ำจับท่อลึกเกินกว่า50เมตร
และจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ปั๊มบาดาลแบบนี้กับบ่อที่มีระดับลึกน้อยกว่า50เมตร และบ่อ
ที่มีหินกรวดปนมากับน้ำ ในความเชื่อมั่นของผู้เขียนปั๊มแบบสกรูค่อนข้างจะมีความอึดทน
หรือแข็งแรงน้อยกว่าแบบใบพัดเนื่องจากลักษณะของการทำงานที่รีดอัดน้ำไปตามร่องเกลียว
ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมปนมากับน้ำเช่นทราย หรือกรวด จะอัดตัวจนเกิดอาการล็อคและเกิดอาการ
เกลียวหวานได้
แต่ถ้าต้องการแรงดันสูงๆสำหรับอัดสปริงเกอร์หรืออุปกรณ์จ่ายน้ำที่ต้องการแรงดันสูงๆ ตัวนี้เหมาะ ถ้าเราหาปั๊มที่มีคุณภาพดีและสามารถป้องกันหินกรวด
ไม่ให้เข้าสู่ตัวปั๊มได้ก็ใช้งานได้ดีส่วนมากที่พบปัญหาก็คือหย่อนปั๊มใกล้ก้นบ่อมากเกินไป จนปั๊มออกแรงดึงให้เศษหินกรวดเล็กๆขึ้นมาตามกระแสน้ำได้
ตรงนี้ขอให้ระมัดระวังกันดีๆครับ ปั๊มบาดาลก็จะมีอยู่2ประเภทหลักๆตามนี้ครับเราจะเลือกใช้แบบไหนก็ต้องมาพิจารณาตามคุณสมบัติของบ่อบาดาลที่เรามีอยู่
หรือว่าขุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สิ่งที่เราควรทราบสำหรับบ่อบาดาลที่เรามีอยู่ก็คือ
1) บ่อบาดาลของเรามีขนาดปากบ่อกี่นิ้ว เพื่อที่จะได้เลือกปั๊มบาดาลที่มีขนาดสามารถ
หย่อนลงไปในบ่อได้ ตามที่ได้แนะนำเอาไว้ตอนต้นว่า ถ้ามีงบประมาณไหนๆจะเจาะแล้ว
ก็ควรเลือกขนาดตั้งแต่4นิ้วขึ้นไป จะได้มีตัวเลือกและโอกาสเลือกมาก
2) ความลึกของก้นบ่อ ซึ่งถ้าเป็นบ่อที่เจาะใหม่เราสามารถสอบถามจากช่างเจาะบาดาล
ได้ถ้าไม่มีรายละเอียดหรือเป็นบ่อเก่า เราก็ต้องใช้เชือกหรือเอ็นตกปลาผูกกับน็อตตัวเมีย
ให้แน่นแล้วหย่อนลงไปจนถึงก้นบ่อ แล้วสาวเชือกขึ้นมาวัด ระยะความลึกตัวนี้มีประโยชน์
สำหรับการพิจารณาเพื่อหาระยะที่เหมาะสมในการหย่อนปั๊มบาดาล
3) ระดับน้ำจับท่อ ซึ่งเมื่อการเจาะบ่อบาดาลลงไปถึงโพรงน้ำใต้ดินแล้วก็จะมีแรงดันใต้
พื้นโลกหรือแรงดันใต้ภิภพดันส่งให้ระดับน้ำใต้ดิน ล้นหรือเอ่อขึ้นมาตามท่อบาดาล
ซึ่งเป็นระยะที่วัดจากพื้นดินไปจนถึงระดับผิวน้ำในท่อ เรียกกันว่าระดับน้ำจับท่อ
ซึ่งระดับน้ำจับท่อนี้จะเป็นตัวบ่งบอกให้เราทราบว่าเราจะต้องใช้ปั๊มบาดาลที่มี
ความสามารถในการดันส่งได้กี่เมตร หรือความสามารถสูงสุดในการดันส่ง TDH.
(Total Dynamic Head)
4) ปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน หรือความดันที่ต้องการใช้งาน
ตามที่ตั้งใจเอาไว้ ผู้เขียนเขียนบันทึกนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจ
ได้เข้ามาอ่านทั้งที่เป็นเพื่อนFacebook ที่ทำงานเกี่ยวกับการเจาะน้ำบาดาล
อยากจะต่อยอดขายเครื่อสูบน้ำด้วย ผุ้เขียนก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเมื่อลูกค้า
ต้องการเจาะบ่อบาดาล ก็ย่อมจะต้องมีความต้องการเครื่องสูบน้ำด้วยเสมอ ไม่ว่าจะ
เป็นสูบด้วยไฟฟ้าบ้าน หรือพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ บางท่านบอกว่า
ไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าเลยไม่กล้ารับงาน ผู้เขียนกลับมองไปอีกมุมหนึ่งว่า ขนาดบ่อบาดาล
ลึกเป็นร้อยเมตร ท่านก็ยังเจาะลงไปจนพบกับโพรงน้ำได้ จะมาหวั่นอะไรกับการแค่ขัน
สายไฟฟ้าไม่กี่เส้น ต่อท่อ หย่อนปั๊ม เปิดสวิช เป็นการเพิ่มช่องทางการขายทั้งเจาะ
บ่อบาดาลและขายเครื่องสูบน้ำบาดาลไปด้วยมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อผลงานออกมาดี
ทั้งงานเจาะบ่อบาดาลและขายเครื่องสูบน้ำไปพร้อมๆกัน มันทำให้ธุรกิจของท่าน
โตขึ้นเป็นสองเท่า โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมากมาย เพียงต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
เล็กน้อยเท่านั้น
เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างเพราะก็มีเพื่อนๆอีกหลายท่านก็อยากรู้เหมือนกัน ลองติดตามอ่านดูแล้วกดเครื่องคิดเลขตาม จับให้ได้ว่าโม้ตรงไหนครับ
ผู้เขียนก็จะแปลงสูตรจากที่เข้าใจยากๆและบางครั้งก็ใช้การเทียบบัญญัติไครยางค์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างของผู้ที่สนใจและตอนนี้กำลังทำงาน
เกี่ยวกับปั๊มบาดาลและแผงโซล่าเซลล์มือสองอยู่ โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้
1) การอ่านฉลากปั๊มบาดาล
เพื่อทำความเข้าใจว่าปั๊มตัวนี้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่เราต้องการใช้หรือไม่ จะเผื่ออย่างไร? วิธีการออกแบบจากข้อมูลที่มีเบื้องต้น
2) การทดสอบปั๊มบาดาลที่เรามีอยู่ในมือว่า
จะสูบส่งน้ำได้กี่ลิตร? ที่ระดับความลึกต่างๆจะได้น้ำเท่าใดโดยไม่ต้องหย่อนลงไปในบ่อ วัดกันที่ร้านเราก่อนที่จะนำไปติดตั้งซึ่งทำได้โดยการสร้าง
เครื่องทดสอบแบบง่ายๆลงทุนพันกว่าบาท ไม่ต้องไปเสี่ยงหน้างาน ชักปั๊มขึ้นหย่อนปั๊มลงให้เสียรูปมวยหน้างาน และการประมาณการว่า บ่อบาดาล
เป้าหมายที่เราจะไปติดตั้ง และขับด้วยแผงต้นกำลังของเราจะสามารถสูบส่งน้ำได้วันละกี่ลิตร หรือว่ากี่ลูกบาศก์เมตร? ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการลด
ค่าใช้จ่ายหน้างาน ไม่ต้องมาแก้ปัญหาแบบตาบอดคลำช้าง
3) วิธีการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์มือหนึ่งและแผงโซล่าเซลล์มือสอง
ท่อนนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ชอบเลือกซื้อและประกอบเองแบบDIY.หรือผู้เขียนขอเรียกว่าการประกอบแบบท้าทายรวมถึงเพื่อนๆที่มีสต็อก
แผงมือสอง ซึ่งจะสามารถคัดแยกออกมาเป็นมือสองเกรด A มือสองเกรด B. ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถระบายของที่มีตำหนิหรือหย่อนสมถรรภาพบางประการ
หรืออาจจะเอาไว้แถมให้ลูกค้าที่ซื้อลอตใหญ่ๆ เอาไปต่อทำอะไรเล่นๆ แน่นอนลูกค้าย่อมพอใจถ้าเราได้บอกก่อนว่า เป็นสินค้าที่มีตำหนิและสมราคา
จะได้ไม่มีการเสียความรู้สึกกันในภายหลัง ในยุคที่สินค้าโซล่าเซลล์ล้นตลาด ถ้าจะขายแบบไม่รับผิดชอบก็คงจะลำบาก ในช่วงที่สินค้าล้นตลาด
มีแผงมือสองมาตัดราคาแผงมือหนึ่ง ความซื่อตรง และบริการหลังการขายจึงเป็นจุดหรือประเด็นสำคัญที่เราต้องสร้างและรักษาเอาไว้
4) การติดตั้งหน้างานและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการติดตั้ง
ซึ่งจะกล่าวถึง สายไฟฟ้า ตู้ควบคุม ระบบ ท่อสูบน้ำ การต่อสายไฟฟ้าที่ต้องแช่อยู่ในน้ำ ลวดสลิงที่จะต้องรับน้ำหนักของปั๊มและท่อที่หย่อนลงไปในบ่อ
การตรวจสภาพของบ่อบาดาลก่อนหย่อนปั๊มลงไปในบ่อ การป้องกันขโมย การป้องกันมด แมลง หนู งู กระรอก ที่จะมาทำความเสียหายให้กับระบบโซล่าเซลล์
การอ่านเกจวัดแรงดันเพื่อทบทวนความแม่ยำของข้อมูลและรายการคำนวนในการออกแบบ
5) การวัดปริมาณน้ำ และส่งงาน
ซึ่งบทนี้เป็นยาดำหม้อใหญ่ที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเพราะเมื่อเวลาที่ติดตั้งเสร็จสูบน้ำขึ้นมา บางคนใช้ท่อเล็ก น้ำมันก็พุ่งไปไกล บางคนใช้ท่อใหญ่น้ำปริมาณมาก
แต่พุ่งออกมาไม่โดนใจลูกค้า ซึ่งเราก็จะมีวิธีการตวงหรือวัดที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นกติกาสากล เป็นมาตฐานในการส่งมอบงาน ซึ่งในการติดตั้งหน้างานจริงๆ
เราก็ต้องพบกับKuRu ข้างบ่อ หรือจิ๊กโก๋ริมรั้ว ที่จะมาคอยสังเกตุการณ์ มาติ มาชม ถ้าผู้ติดตั้งหน้างานจิตไม่แข็งพอ หรือไม่ตั้งสติ และไม่มีมาตรฐานทางวิชาการ
มาสนับสนุนแล้ว บางครั้งอาจจะทำให้หลงทางและหมดกำลังใจ ถ้ายิ่งเข้าใจกติกา หรือกระบวนการวัดผล ทั้งลูกค้า และผู้ขาย ก็ยิ่งสร้างความประทับใจกันทั้งสองฝ่าย
ของดี บริการดี ราคาเหมาะสม ก็แนะนำบอกต่อกันไปไม่รู้จบ และถ้าเจ้าไหนมีบริการหลังการขายที่ดี รวดเร็ว ก็ยิ่งจะเป็นการเพิ่มลูกค้าได้อย่างนิรันดร
สำหรับ บทที่5 ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเมื่อเราสามารถทราบผลอย่างคร่าวๆล่วงหน้าแล้วว่า ระบบหรือเครื่องสูบน้ำของเราที่จะนำไปติดตั้ง
จะมีความสามารถสูบได้ลึกกี่เมตร ? ได้ปริมาณน้ำกี่ลิตร/นาที หรือวันละกี่ลูกบาศก์เมตร มาจากการทดสอบที่ร้านของผู้ขายก่อน พอนำมาติดดั้งที่หน้างาน
เสร็จ เรียบร้อย ผลที่วัดค่าได้จากหน้างานจริง กับการทดลองที่ร้านจะแตกต่างกันไม่มากนัก +/- ประมาณ10% เพราะเป็นการสูบน้ำด้วยแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้
แสงแดดเป็นต้นกำลัง ไม่นิ่งหรือคงที่เหมือนกับกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ
ในบทแรกหรือปฐมบท ก็จะเป็นการกล่าวปูพื้นในเรื่องของปั๊มบาดาล และปลุกใจพอแม่พี่น้องชาวไทย ชาวไร่ ชาวนา หรือช่างไฟฟ้าให้เข้าใจว่า การจะสร้างระบบสูบน้ำ
บาดาลด้วยแผงโซล่าเซลล์นั้น ” ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะสามารถทำได้ด้วยตนเอง ” ซึ่งแน่นอนครับ แต่ละท่านต่างก็มีต้นทุนในด้านกำลังทรัพย์และกำลังความรู้ที่ต่างกัน
บางท่านเก่งเรื่องเพาะปลูก ระดับเพาะเนื้อเยื่อ บางท่านเก่งเรื่องสร้างระบบน้ำ ถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้กัน ท่านที่มีกำลังทรัพย์ถ้าอยากจะซื้อใช้เลย ไม่ต้องการลงมือทำเอง
ให้เหนื่อย ผมก็มีขาย และรับออกแบบ ผลิต และติดตั้งให้ครับ ต้องการขนาดไหน สามารถทำได้หมดครับ บางท่านถ้าสามารถประกอบสร้างเองได้ ก็จะดี เพราะต้อง แบ่งกันงบ
ประมาณบางส่วนไปใช้ในทางด้านอื่น ก็ติดตามอ่านต่อไปครับ

หลายๆท่านถามผมเสมอว่า ” เขียนบทความละเอียดขนาดนี้ เขาก็ไปทำเองกันหมดแล้วจะขายของได้เหรอ ? ” ผมก็จะตอบให้ท่านที่ถามไปว่า บางท่านมีกำลัง ก็มาช่วยซื้อ
เครื่องสูบน้ำของผมไปใช้ ทั้งบริษัทฯใหญ่ๆ และท่านที่อยากให้การสนับสนุน ส่วนบางท่านมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทำระบบสูบน้ำด้วยตนเองเพื่อเป็นการลดต้นทุน ประหยัด
งบประมาณ ก็จะได้มีบทความหรือความรู้ที่ผมเขียนเอาไว้ เป็นเครื่องนำทาง และสำหรับผมเองการเขียนบทความต่างๆนี้ เป็นการล้างแค้น ” ความไม่รู้ ของตนเองในอดีต ” ซึ่งผม
จะเล่าให้ฟัง
เมื่อเดือนเมษายน 2530 เวลาบ่ายโมงเศษๆ ชายหนุ่มสองคน อายุประมาณ วัยเบญจเพศ กำลังยืนปรึกษาหารือกันอยู่ตรงริมฟุตบาทย่านคลองถม
สองพี่น้องกำลังปรึกษาหารือกันอยู่ตรงหน้าเครื่องสูบน้ำมือสองหรืออาจจะเป็นมือสี่หรือห้าก็ไม่ทราบได้ เป็นเครื่องยนต์ฮอนด้าขนาด5แรงม้าต่อพ่วงกับ
ปั๊มชักขนาด1นิ้ว ที่เก่าจนสนิมเขรอะ สองพี่น้องมาหยุดยืนไตร่ตรองอยู่ที่ตรงนี้ก็เพราะตลาดคลองถมที่กว้างใหญ่ มีเพียงชุดเครื่องสูบน้ำเก่าๆชุดนี้เท่านั้น
ที่เหมาะสมกับฐานะของสองพี่น้องคู่นี้ เจ้าของเขาเรียกราคา 2800 บาท คนขายก็ไม่สามารถบอกอะไรได้ พอเราถามมากๆ เรื่องว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
สุดท้ายเขาก็บอกว่า ” ไม่รู้เหมือนกัน เพื่อนฝากมาขาย ถ้าจะซื้อจริง ลดให้อีก 100 บาท ” ซึ่งเป็นความรู้สึกที่แสนโหดร้าย ที่จำฝังใจมาถึงทุกวันนี้
ความโหดร้ายของความไม่รู้ แต่ต้องตัดสินใจ ในช่วงนั้นผู้เขียนกำลังเรียนวิศวะฯปี2 ทำงานกลางวันเรียนตอนเย็น เป็นคนที่ต้องมายืนอยู่หน้าเครื่องสูบน้ำ
ท่ามกลางแสงแดด และความกดดันที่ต้องตัดสินใจ ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ตอนนั้นเงินเดือนของผมเดือนละ 3000 บาท เงินก้อนนี้มันใหญ่มากสำหรับ
เราสองพี่น้อง และทุกคนกำลังรอ และต้องการคำตอบจากผม
ต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดก็มาจากน้องชายของผมได้โบนัสประจำปีมาก้อนหนึ่งเพราะเขาทำงานกับบริษัทฯก่อสร้างญี่ปุ่น น้องชายของผมเอาเงิน
ก้อนนั้น ไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ที่บ้านเนินหัวโล้ อ.วังทรายพูน จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ 20 ไร่เศษๆ และลงมะม่วงหลายๆสายพันธ์ บางครั้งก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งมาว่า
โดนไฟไหม้ไปสองสามไร่ และเมื่อสองวันก่อน ที่ไร่ก็โทรมาแจ้งน้องชายว่า ” ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้กำลังจะตาย เพราะคนเฝ้าไร่ ตักน้ำรดไม่ไหวแล้ว ต้องการเครื่องสูบน้ำด่วน ”
แถมยังมีฝากข้อความเล็กๆมาว่า ” ถ้าไม่มีเครื่องสูบน้ำ ก็จะขอลาออก กลับบ้านแล้ว หิ้วน้ำไม่ไหวแล้ว ” ซึ่งในตอนแรกที่ทำการขุดบ่อสร้าง ขุดลงไปในดินที่เป็นดินลูกรัง
แบบศิลาแลง คือขุดลงไปตามหินผุๆจนเป็นวง ลึกลงไปประมาณ 4 เมตรก็มีน้ำไหลซึมมาที่ก้นบ่อ สามารถใช้เชือกผูกถังตักขึ้นมา ใส่ปี๊ปบนรถเข็น แล้วเข็น
ไปรดต้นมะม่วงที่ปลูกเอาไว้ บางฤดูแทบไม่ต้องรด แต่ตอนนี้แล้งจัด ” ไม่ไหวแล้ว ไม่ไหวแล้ว bar …bar..bar…” ปัญหาต่างๆถูกส่งข่าวมาพร้อมกับการเรียกร้อง
หลายๆท่านก็คงจะมีประสบการณ์คล้ายๆกัน ถ้าท่านที่มีฐานะ มีความพร้อม ก็จะดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับคนที่ยังต้องทำงานรับเงินเดือนอยู่ และนำเงิน
ที่เหลือทั้งหมด ทุ่มลงไปกับบ้านไร่วันหยุด มันเป็นเรื่องที่หนักเอาการอยู่ในเวลานั้น เพราะที่ดินเราราคาถูก อยู่หลังเขา ไฟฟ้า น้ำประปา เข้าไม่ถึง
เวลานั้นโซล่าเซลล์ ยังไม่ตกลงมาถึงพื้นดิน ห้องทดลอง SKY LAB ก็ยังไม่ร่วง ลงมาสู่พื้นโลก เครื่องยนต์สูบน้ำ จึงเป็นทางเลือกเดียวที่เรามี
และสุดท้ายในฐานะพี่ชายก็ต้องตัดสินใจซื้อเครื่องสูบน้ำเก่าเครื่องนั้น โดยไม่มีความรู้ใดๆเลยว่า จะเอาไปต่อท่ออย่างไร? ท่อขนาดไหน ? แล้วมันจะสูบน้ำ
ขึ้นมาได้ไหม? ไม่รู้อะไรเลย แม้แต่คำว่า ” เราตัดสินใจถูกไหม ? ” และเมื่อเราเอาเครื่องสูบน้ำไปส่ง ก็ได้รับตำแนะนำหลากหลาย จากกูรู ริมรั้ว และกูรูข้างบ่อ
ถึงวิธีการติดตั้งใช้งาน และในอีกสองสามสัปดาห์ ที่เรากลับมาทำงานหาเงินต่อที่กรุงเทพฯ ก็ได้รับข่าวว่า ” เครื่องหาย ” และอีกหลายปัญหา จนในที่สุด
สวนมะม่วงก็ถูกปล่อยร้างไว้ คนดูแลก็กลับไปตามทางของเขา แต่ก็ยังโชคดี ที่หลังจากนั้นมีคนติดต่อขอซื้อที่ ให้ราคาเป็นสองเท่าของตอนที่น้องชาย
ของผมซื้อไว้ อย่างน้อยเราก็ได้ลงมือทำ ได้บทเรียนในเรื่องใจคน และ ฯลฯ และเมื่อปี2558 ที่ผ่านมาก็ทราบว่า ที่แปลงนั้นเป็นที่ดินที่มีสายแร่ทองคำ
ก็ยินดีกับคนแถวนั้นครับ เพราะว่าหน้าแล้ง แล้งสาหัสจริง จึงได้ชื่อว่า ” เนินหัวโล้ “
เล่าให้ฟังเสียยาวหน่อย หลายๆท่านคงจะพอเข้าใจแล้วว่า เหตุใดผู้เขียนจึงมีความสุขมากในการเขียนบทความเรื่องเครื่องสูบน้ำ ส่วนหนึ่งก็คืองานอาชีพ
และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นการ” แก้แค้นความไม่รู้ ” ความรู้สึกของความโหดร้ายของความไม่รู้แต่ต้องตัดสินใจนั้น มันแสนจะทรมาน ซึ่งมันหมายถึงเงินที่เราต้องจ่าย
ออกไป แล้วสิ่งที่เราซื้อจะสามารถตอบโจทย์เราได้มากน้อยเพียงใด ผู้เขียนไม่ได้คิดเคืองคนขายที่ไม่สามารถให้คำแนะนำกับเราได้ เพราะเขาอาจจะไม่รู้ แต่ต้องขาย
เพราะพี่เขาขาย เครื่องมือเก่า สิ่ว ฆ้อน สกัด วิทยุ และสารพัด เครื่องสูบน้ำเป็นเพียงของชิ้นหนึ่งที่พี่เขาต้องขาย สำหรับผู้เขียนกับน้องชาย ก็ไม่มีข้อมูลอะไรมาก
รู้เพียงว่า ” ต้องการเครื่องสูบน้ำ ” จะสูบลึกเท่าไหร่ จะส่งไกลแค่ไหน มะม่วงต้องการน้ำกี่ลิตรต่อวัน เราไม่รู้เลย ถ้าจะหาแพะมารับบาป ” ความไม่รู้ ” น่าจะเป็น
จำเลยที่เหมาะสมที่สุดที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
ในสมัยนั้นยังไม่มี Internet ยังไม่มีลุง Google ให้ถาม มาถึงยุคปัจจุบัน ” ความไม่รู้ ” ก็ยังสามารถทำร้ายคนที่ไม่อ่าน หรือไม่ศึกษาหาข้อมูลก่อน และการอ่านจนเบลอ
หรือการเชื่ออะไรง่ายๆจากโลก on Line ก็เป็นภัยเหมือนกัน ความพอดี การพิจารณาด้วยเหตุและผลก็จะเป็นทางออกของทุกๆเรื่อง ผู้เขียนก็ไม่ใช่คนเก่งที่สุดในเรื่องนี้
ทุกอย่างเขียนมาจากประสบการณ์ ไปอ่านพบ หรือคิดอะไรได้ ก็จะซื้อมาทดลอง และทดสอบในเชิงวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมฯ แล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง ผู้เขียนขอขอบคุณ
ทุกท่านที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนคาดหวังว่า ท่านจะได้พบกับคำตอบ หรือสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ผู้เขียนก็ปลื้มใจแล้วครับ
อยากให้ทุกๆท่าน อ่านศึกษา และมีความเข้าใจเบื้องต้น จะได้ปลอดภัยจากความไม่รู้ และเมื่อนำไปใช้งานจริง เวลาติดตั้งจะได้บอกช่างถูกว่า ต้องทำอย่างไร
เพราะในช่วงการติดตั้งเราอาจจะต้องไปพบกับ จิ๊กโก๋ริมรั้ว หรือกูรูข้างบ่อ ที่อาจจะให้คำแนะนำต่างๆ ด้วยความหวังดี แต่ไม่ค่อยถูกต้อง อย่างเช่น
แนะนำให้หย่อนปั๊มบาดาลลึกจนถึงก้นบ่อเพื่อให้สูบน้ำได้แบบไม่แห้ง ลูกลอยไม่ตัด แต่ ปั๊มปาดานสูบเลนหรือโคลนก้นบ่อ อัดแน่นเต็มท่อจนปั๊มบาดาลพังเป็นต้น
ฯลฯ มีอะไรอีกมากมายที่อยากจะเล่าให้ฟัง ตอนนี้ว่ากันเรื่องสูบน้ำก่อน หวังว่าจักมีสาระประโยชน์ต่อทุกๆท่าน คนเรามีพลัง มีความสุขที่ได้ทำตามความฝัน
เหมือนกันทุกคน น้องชายของผมหลังจากที่ขายสวนมะม่วงที่พิจิตรไป ถึงจะได้ราคาเป็นสองเท่าของที่ซื้อไป แต่ความทุ่มเท กำลังกายกำลังใจที่เสียไปนั้น
ประเมินค่าไม่ได้ แต่ความฝันไม่เคยหยุด สองปีต่อมา ด้วยเงินก้อนเดิมบวกกับที่สะสมเอาไว้ คราวนี้ไปซื้อที่ดินที่ไทรโยค จากเดิม20 ไร่ คราวนี้ซื้อหุบเขาไปทั้งหุบ
ประมาณ300 ไร่ แล้วจะเล่าให้ฟังครับ ในโอกาสต่อไปครับ
เขาว่าคนแก่ชอบคุยเรื่องเก่า ก็คงจะหมายถึงหลายๆท่านที่ติดตามอ่านบทความของผู้เขียนมาโดยตลอด บางครั้งเขียนถึงเรื่องเก่าๆ น้ำตาซึมเหมือนกัน เหมือนเหตุการ
หรือความรู้สึกนั้น มันแทงเจ็บจิ๊ดๆ อยู่ในหัวอก เล่าให้ฟังเพื่อท่านที่สงสัยว่าทำไมผมถึงเขียนอย่างละเอียด เป็นการแก้แค้น ความไม่รู้ของตนเอง ไม่อยากให้ใครต้องมาพบกับ
บรรยากาศแบบที่ผมเคยพบมาสมัยเป็นหนุ่ม และบทความทั้งหมดก็คงจะพอสร้างกำลังใจให้ท่านที่กำลังติดตามหาความรู้ เพื่อจะสร้างระบบสูบน้ำด้วยตัวของท่านเอง คลิ๊ก ภาพ
ด้านล่างเพื่อเข้าศึกษาในบทต่อไปเลยครับ ” การอ่านฉลากปั๊มบาดาล “