
การทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ ก่อนการนำไปติดตั้งหน้างาน
จากบทความตอนที่แล้ว เราก็พอจะทราบแล้วว่า ปั๊มสูบน้ำบาดาล หรือ ปั๊มชนิดอื่นก็ตาม จะมีฉลาก หรือ Specification เขียนไว้ หรือเป็นแผ่นโลหะบอกค่าต่างๆ
เอาไว้ที่ตัวปั๊ม ซึ่งพอจะทำให้เราทราบว่าเรามีเครื่องมือ ชนิดใดอยู่ในมือของเรา ซึ่งค่าต่างๆบนฉลากของปั๊ม จะเป็นการหาค่าจากการทดสอบ ทดลองเดินปั๊มใน
ห้องทดลอง ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการเลือกไปใช้งานในขั้นตอนการออกแบบ และบางครั้งฉลากหลุด ฉลากหาย หรือฉลากปลอม ( ไม่มีการทดสอบ ทดลอง ลอกเขามา)
เป็นต้น และเมื่อเป็นการนำเอามาสูบน้ำด้วยแผงโซล่าเซลล์ด้วยแล้ว ความผันแปรจะขึ้นอยู่กับ หลายองค์ประกอบดังนี้
1) จำนวน ขนาด กำลังวัตต์ และคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์
2) ชนิด ขนาด และ ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ
3) ประเภทของ Solar pump inverter
4) คุณภาพและความถูกต้องของการเดินวงจรควบคุม
5) คุณภาพของกล่องควบคุม ที่สามารถป้องกันฝน ความชื้น และ สัตว์เลื้อยคลาน
6) ทักษะและความชำนาญของผู้ติดตั้ง
7) สภาพของท้องฟ้าและแสงแดดในเวลานั้น
8) ความถูกต้องและเหมาะสมของขนาด ชนิด และการวางท่อส่งน้ำ

ในช่วงเวลานี้มีหลายท่านที่เข้ามาทำงาน หรือ ค้าขาย อุปกรณ์ทางด้านพลังงานทดแทน และ นำเข้าวัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาขาย
และบางท่านก็ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ แต่ก็ต้องขาย และต้องทำงานในแขนงใหม่นี้ เพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร ในการสั่งซื้อวัสดุ
อุปกรณ์ต่างๆเข้ามาจำหน่าย เราก็ทราบกันดีว่า ส่วนใหญ่จะสั่งนำเข้ามาจากประเทศของท่านจอมยุทธ ถ้าเราได้พบกับจอมยุทธที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ และคุณธรรม
ก็ถือว่าเป็นโชคดี แต่ถ้าเราบังเอิญไปสั่งสินค้าที่หย่อนคุณภาพ หรือไม่ตรงปก จะด้วยเหตุผลใดก็ตามที จะเป็นอุปกรณ์ของพรรคเทพ หรือพรรคมาร ก็ตามที มันก็
เข้ามาอยู่ในมือของเราแล้ว ในลำดับต่อไปนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีการที่เราจะสามารถทดสอบว่า อุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในมือ จะสามารถทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพ
มากน้อยเพียงใด

จะเป็นการดีที่สุดถ้าเราสามารถนำแผงโซล่าและปั๊มน้ำบาดาล ที่เรากำลังจะนำเอาไปติดตั้งหน้างาน นำมาทำการทดสอบที่ร้าน หรือที่บริษัทฯเราเสียก่อน
ซึ่งสามารถทำได้เพียงแต่เราต้องมีเครื่องมือทดสอบ ที่มีชื่อว่า DENCO Submersible Pump Test หรือ DSPT.ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อจำลอง
หรือปรับสภาพของชุดท่อทดสอบ ให้มีสภาพเดียวกัน หรือใกล้เคียง กับสภาพของหน้างานจริง ที่สามารถจัดสร้างขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ลงทุนครั้งเดียวใช้งาน
ได้นานยันลูกบวช บางท่านถามว่าผมมีจำหน่ายหรือไม่ ก็เคยทำขายให้กับมิตรรักแฟนเพลง ใครอยากได้ก็จะทำให้ ท่านใดสร้างทำได้เองก็ดี ซึ่งจะประกอบด้วย
1) ถังน้ำสำหรับหย่อนปั๊ม หรือถังสูบ
จะเป็นถัง นำมัน200ลิตร เป็นโอ่งน้ำ หรือบ่อน้ำก็ได้ตามสะดวก แต่ต้องมีปริมาณน้ำที่มากพอให้ปั๊มเดินสูบน้ำได้สัก 2 ถึง 5 นาที
2) ปั๊มน้ำที่เราต้องการทำการทดสอบ
3) ชุดเครื่องทดสอบ DSPT ซึ่งจะต้องมีหางปลาไหลขันติดกับทางส่งออกของปั๊มบาดาล และมีสายยางขดสปริงทนแรงดัน 10 บาร์ ไปเชื่อมต่อกับสามทางที่มี
เกจวัดแรงดัน (Pressure gauge) ติดตั้งอยู่
4) ประตูปรับแรงดันน้ำ และสายอ่อนส่งน้ำออก
5) ถังรับน้ำ ควรมีขนาดที่เหมาะสมที่จะรับน้ำจากปัีมน้ำได้ประมาณ2 นาที หรือใช้ถังสี กาละมัง ที่เราทราบขนาดความจุมีหน่วยเป็นลิตร

ผมขอสมมุติว่า วันนี้เปิดร้านแต่เช้า มีลูกค้าเดินเข้ามาสอบถาม
โจททย์หน้างาน ลูกค้าต้องการเครื่องสูบน้ำบาดาลขนาด 4 นิ้ว สูบน้ำที่ความลึก 25เมตร (ระดับน้ำจับท่อ) ปั๊มที่เรามี หรือเราเลือกใช้ จะสูบน้ำขึ้นมาได้วันละ
กี่ลบ.เมตร ราคาวัสดุอุปกรณ์เท่าไหร่ ถ้าลูกค้าซื้อไปติดตั้งเอง ถ้าติดตั้งให้ด้วยราคาเท่าไหร่ ? ไร่ของลูกค้า อยู่ห่างออกไปจากร้านเรา20 กิโลเมตร
ผมจำลองสถาณการให้ ประมาณนี้เลย ท่านที่ติดตามอาจจะหยากเปิดร้านขายปั๊มบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ ที่บ้านต่างจังหวัดบ้าง ไม่อยากกลับมา
ทำงานที่เดิมแล้ว เพราะแถวบ้านเรา คนหนีโควิท กลับมาบ้านเยอะ มาปลูกโกโก้ ปลูกอินทผลัม ทำเกษตรอินทรีย์กันเยอะ น่าจะกลับมาทำงานมีกิจการเล็กๆ
ของตนเองได้ ในระหว่างที่รอต้นโกโก้เติบโต ก็ยังอาศัยวิชาช่าง หารายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ติดตามกันต่อเลยครับ
พอทราบโจทย์จากลูกค้า บ่อขนาด 4 นิ้ว ต้องการสูบน้ำลึก 25 เมตร เราก็มาดูว่าปั๊มบาดาล รุ่นที่เรามีอยู่ในมือจะสามารถขายให้กับลูกค้าท่านนี้ ได้หรือไม่?
1) อ่านฉลากปั๊ม
1.1 ) ท่อปากบ่อบาดาลขนาด 4 นิ้ว ก็ลองวัดขนาดความโตของปั๊มบาดาลเราว่า มีความโตเท่าไหร่ (ส่วนมากรหัส SPM4 จะสามารถหย่อนลงปากย่อขนาด4นิ้วได้)
แต่ควรวัดด้วยตลับเมตรดูว่า ปั๊มบาดาลเรามีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้ว
1.2) สูบน้ำขึ้นจากความลึก 25 เมตร
สามารถทำได้เพราะในฉลากปั๊มระบุว่า H= 54 เมตร ซึ่งก็หมายความว่า ปั๊มตัวนี้ ดันส่งน้ำขึ้นยอดตึกสูง54เมตรได้
1.3) จะสูบน้ำขึ้นมาให้ใช้ได้วันละ กี่ลบ.เมตร ( หรือกี่คิว กี่ลิตร ต่อวัน)
จากฉลากระบุว่า Q= 3m3/h ซึ่งก็สามารถแปลความหมายได้ว่า สามารถสูบน้ำได้ 3 คิวบิกเมตร ต่อ ชั่วโมงวัน
ทำความเข้าใจตรงนี้สักนิด ผลจากการทดลองในห้องทดสอบคือ 3คิว หนือ 3000ลิตร ต่อชั่วโมง ซึ่งตัวเลขนี้เป็นการวัดค่าที่สูบวนเวียน
ในถังทดสอบ หรือ กะละมังทดสอบ ถ้าฉลากไม่ปลอม หรือ ” กระแตฟันหลอ ” เราจับมาหาค่าเฉลี่ยกันก่อนเลย
K of TDH. = Flow rate / Total Dynamic Head
K.of TDH = 3000/54
K.of TDH = 55.555 Litres /m.
So เราสามารถอนุมานได้ว่า เมื่อใช้ปั๊มตัวนี้สูบน้ำที่ความลึก 30 เมตร จะสามารถดันน้ำขึ้นมาบนผิวดินได้
= (TDH.(m) -Dept (m.)) * K.of TDH.(55.555 Litres/m)
= (54-25) * 55.555
= 1611.09 Litres/hr.
เมื่อเราประเมินอัตราการไหลที่ความลึก 25 เมตร เราจะสุบน้ำขึ้นมาได้ 1611.09 ลิตร/ชั่วโมง ใน 1 วันเราจะได้น้ำกี่ลิตร ?
ทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อน พระอาทิตย์จะขึ้นประมาณ6.00น. และจะตกดินเวลา 18.00 น. แต่ในแต่ละช่วงเวลา มุมของดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแดด
มากระทบกับแผงโซล่าเซลล์จะแตกต่างกัน ค่าของพลังงานที่ได้ในแต่ละช่วงเวลา จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราต้องแบ่งแยก ระดับพลังงานที่ผลิต
ออกมาได้เป็นช่วงต่างๆดังนี้
ช่วงเวลาหัวเช้า 6.00 ถึง 9.00น. 3 ชั่วโมงแดดอ่อน ปั๊มทำงานได้ แต่อาจจะไม่ได้แรงดัน หรือความเร็วรอบตามมาตรฐานของปั๊ม ( ไม่ควรนำมาคิดคำนวน)
ช่วงเวลามาตรฐาน 9.00 ถึง 15.00 น. 6 ชั่วโมง ที่ปั๊มสามารถทำงานได้แรงดัน และอัตราการไหล ตามมาตรฐาน หรือใกล้เคียง มาตรฐาน
ช่วงเวลา หัวเย็น 15.00 ถึง 18.00 น. 3 ชั่วโมงแดดอ่อน ปั๊มทำงานได้ แต่อาจจะไม่ได้แรงดัน หรือความเร็วรอบตามมาตรฐานขอปั๊ม ( ไม่ควรนำมาคิดคำนวน)
เราสามารถประเมินได้ว่า ในเวลาแสงแดดมาตรฐาน 6 ชั่วโมง ระบบของเราจะสามารถสูบน้ำได้ = 1611.09 * 6 ชั่วโมง
จะได้น้ำปริมาณ = 9666.57 ลิตร ( เป็นอย่างน้อย) ส่วนเวลาหัวเช้า หัวเย็นก็ได้น้ำครับ ถือว่าเป็นของแถม นี่คือความเป็นจริง
ของการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ มันมีค่าของความแปรผันมากมาย ซึ่งตัวเลขข้างบน เป็นการประมาณการต่ำสุด ที่อ่านจากฉลาก
หรือสเปกของอุปกรณ์ ซึ่งบางครั้ง สเปกพวกนี้ มีการระบุต่ำเอาไว้ ต่ำกว่าความเป็นจริง ถ้าจากประสบการณ์ ลักษณะแบบนี้จะได้น้ำจริงๆ
มากกว่านี้ ประมาณ 20ถึง30 % ถ้ารวมเวลาทำงาน หัวเช้า และหัวเย็น ไปอีก ซึ่งเราจะทราบแน่ชัด เมื่อได้ทำการทดสอบจริง
โดยปรกติ ผู้เขียนจะเลือกใช้ปั๊มที่มีค่า TDH. ที่มีค่าเป็น1.5 ถึง 2 เท่า ของความลึกในการสูบเป็นอย่างน้อย
******* ถ้าเลือกปั๊มที่มีค่าTDH. ต่ำกว่าความลึก หรือระดับน้ำจับท่อ จะสูบน้ำไม่ขึ้น
******* ควรเลือกปั๊มที่มีค่า TDH. เป็น 1.5 ถึง 2 เท่าของความลึกในการสูบ
อ่านให้เข้าใจหลายๆรอบครับ จะช่วยให้การออกแบบเครื่องสูบน้ำออกมาแล้ว ทำงานได้น้ำพอใช้งาน ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการออกแบบ
ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เราต้องรู้จักและเข้าใจธรรมชาติ และองค์ประกอบอย่างถ่องแท้ เราจะสามารถออกแบบได้ครอบคลุม ทุกปัญหา
จะเกิดขึ้นในภายหลัง ” การเผื่อที่เหมาะสม ” จะต้องอยู่บนพื้นฐานของราคาที่เหมาะสม และสามารถใช้งานได้จริง อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำการเผื่อคือ
” จำนวน หรือกำลังของแผงโซล่าเซลล์ ” ในยุคสมัยนี้ราคาของแผงโซล่าเซลล์ มีราคาลดลงมาก ของใหม่ เฉลี่ย 10 บาท/วัตต์ ของมือสองเฉลี่ย
6ถึง8 บาท/วัตต์ ขึ้นอยู่กับสภาพ และอายุใช้งานก่อนถูกปลดประจำการ แต่ต้องเผื่อเพราะ เวลาติดตั้งใช้งานจริงๆ ในภาพใช้แสงแดดจริง ค่าที่แผงผลิต
กำลังออกมาได้นั้นจะแตกต่างกัน ควรทำการวัดกำลังของแผงที่เรามีอยู่ก่อนด้วย ไม่ว่าจะแผงมือหนึ่ง หรือมือสอง ต้องพิสูจน์ทราบก่อนว่า พอตากแดดแล้ว
สามารถผลิต กระแสไฟฟ้าออกมาได้ กี่ วัตต์ กี่ โวลล์ กี่แอมป์
ถ้าถามเรื่องการเผื่อสำหรับการสูบน้ำ ขอแนะนำว่า ควรเผื่อที่ 1.5 ถึง 2 เท่า ของ ขนาดของมอเตอร์ปั๊ม

ผมเขียนให้อย่างละเอียดเพราะต้องการให้เพื่อนๆและมิตรรักแฟนเพลงของผม ที่บังเอิญไปสั่งซื้อปั๊มบาดาลโซล่าเซลล์จากประเทศนอก
เข้ามาจำหน่าย พร้อมกับการติดตั้งให้ลูกค้าไป บางท่านได้สินค้าคุณภาพดีมา ก็ถือว่าโชคดี แต่บางท่านไปสั่งของที่ราคาถูก และยิ่งทำการติดตั้ง
หรือ สร้างระบบต้นกำลังไม่เหมาะสม เผื่อน้อยไปหน่อย หรือใช้ปั๊ม TDH.ต่ำ ไปสูบน้ำลึกเกินไป ได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ปั๊มพังก่อนเวลาอันควรหรือ
เหตุปัจจัยอื่นๆที่คาดไม่ถึง เช่น ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ หรือกล่องคอนโทรล ในตู้ไฟฟ้าที่มีระดับ IP.ต่ำ มด แมลง เข้าไปทำรัง งูเขียวเข้าไปกินจิ้งจก
ในตู้ควบคุม หรือ ปัญหาจากการถุกขโมยงัดตู้ไฟฟ้า ฯลฯ
ซึ่งผมมีความคิดในมุมมองของผมว่า เพื่อนๆที่เป็นหัวหน้าองค์กร หรือหัวหน้าครอบครัว ก็ต้องมองหาช่องทาง ต่อยอดธุรกิจ หรือเพิ่มช่องทาง
ในการหารายได้ เช่น ลูกค้าของผู้เขียน รับเจาะบ่อบาดาล เจ้าของไร่ เจ้าของสวนก็ถามหาเครื่องสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ พอมาปรึกษาผม ผมก็
ช่วยออกแบบให้ จัดวัสดุอุปกรณ์ให้ แนะนำวิธีการติดตั้ง และปรับค่าต่างๆให้เรียบร้อยจากโรงงานของผม ซึ่งลูกค้าของผมรับเจาะน้ำบาดาลในแถบ
ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง จากรับเจาะบ่อบาดาลอย่างเดียว ก็สามารถขายเครื่องสูบน้ำบาดาล พลังงานแสงอาทิตย์ด้วย มีรายได้เพิ่ม และ
บ่อบาดาล ก็ดี บริการดี เครื่องสูบน้ำก็ดี เลยทำให้ธุรกิจเติบโต ผมเองก็มีลูกค้าเพิ่ม เวลามีสิ่งใดติดขัด ก็สามารถเข้าบริการลูกค้าได้ง่าย และรวดเร็ว
ทางผมก็ Support ข้อมูลให้ตลอด บางเคสที่หนักหนา ฟ้าลง ก็จะส่งCustomer support ไปจัดการให้ครับ
ถ้าใช้ปั๊มและอุปกรณ์ของผม ผมเป็นคนออกแบบเองแต่แรก ก็มั่นใจครับ บ่อบาดาลแรกของผมที่พระพุทธบาท ใช้งานมาแล้ว7ปีครับ แต่ถ้าท่าน
มีอุปกรณ์อื่นๆ หรือสั่งเข้ามาแล้ว ยังขายไม่หมด ก็ลองส่งข้อมูลกันดู บางครั้ง ของดีครับ แต่ เดินวงจร หรือ จัด String ไม่ถูกต้อง ถ้ามีของอยู่ก็ปรึกษา
ได้ครับ จัดการปรับแต่งได้หมด พวกปั๊มบาดาล ( Submersible pump ) และSolar pump inverter จากเมืองจีน มีหลากหลายคุณภาพ ถ้าเลือกซื้อ
ให้เลือกประเภท Brushless DC. เอาไว้ก่อน อายุการใช้งานทนทานกว่ามาก ถ้าเทียบกับประเภท Brush DC.motor แต่มีประเภทไหนก็ใช้ได้หมดครับ
ถ้าเราเดินวงจร และจัดสรร ขนาดให้เหมาะสมกับงาน
ผมมองไปที่มุมเสียดาย ที่คนไทยสั่งอุปกรณ์เข้ามามากมาย บางครั้งมีข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ แต่สร้างปัญหาหน้างานมากมาย บางท่านก็เลิกขาย
หรือไม่อยากทำแล้ว น่าเสียดายครับ ลองอ่านบทความผมหลายๆรอบนะครับ ถ้าบทความของผมสามารถ ตอบคำถาม หรือเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ
สามารถนำเอาอุปกรณ์ต่างๆมาใช้งานได้ หรือ นำไปขายได้ ผมก็จะยินดีถือว่าได้มีส่วนร่วมกับความสำเร็จของท่าน และไม่ต้องทิ้งวัสดุอุปกรณ์ไป
อย่างน่าเสียดายครับ มีสิ่งใดอยากได้คำแนะนำเพิ่มก็สอบถามมาครับที่ Line id:prapondenco
ชมคลิปด้านล่างครับ สปอนเซอร์หลักที่ช่วยให้มีกำลังเขียนบทความครับ
ตอนนี้เรามาถึงขั้นตอนการคำนวนคร่าวๆแล้วว่า ปั๊มน้ำที่เรามีอยู่นั้น ถ้าจะนำมาขายให้ลูกค้าเรา จะสามารถทำงาน ตามที่ลูกค้าต้องการได้ไหม?
คำตอบเบื้องต้นเลยคือได้ครับ และตัวเลขหรือปริมาณน้ำที่สูบได้ในแต่ละวันนั้น จะสูงกว่าที่ผมประมาณการเอาไว้แน่นอน เพราะการผลิตสินค้า
ในเชิงวิศวกรรมนั้น จะต้องมีค่า Safety factor อยู่เสมอ และถ้าอยู่ในมือของคนที่ปรับ แต่งเป็น ก็คล้ายๆกับการรีดแรงม้าของรถยนต์ธรรมดา ๆ
ให้เป็นรถแข่ง หรือภาษาวัยรุ่นเรียกว่า ” แต่งซิ่ง” ตัวผู้เขียนเอง สั่งอุปกรณ์ Solar pump inverter เข้ามา ก็จะทำการ Tune Up. เอาไว้ทุกชิ้น
ตอนนี้ เรามาลองนำเอาแผงโซล่า ฯ และปั๊มบาดาล ของเรา นำมาประกอบเป็นระบบสูบน้ำ เพื่อทำการทดสอบ
ขั้นตอนการประกอบ ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์
1) ปัีมบาดาลที่เรามีรุ่น SPM4-3-600 C
3000 Litres/hr.
TDH.54 m.
600 watts 48 VDC.
c1) จำนวน ขนาด กำลังวัตต์ และคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ปั๊มขนาด 600 วัตต์
600 watts x 1.5 = 900 watts. x @10b./w = 9,000 baths.
600 watts x 2.0 = 1200 watts x @ 10 b./w = 12,000 baths.
ควรเลือกขนาด และแรงเคลื่อน ให้เหมาะสม
2) ชนิด ขนาด และ ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ
ควรเป็นแบบ Brush Less DC.motor ติดตั้งให้ลูกค้าแล้วทนทานกว่าแบบมีแปรงถ่าน ปั๊มเดินทุกวัน ปีกว่าๆต้องดึงขึ้นมา
เปลี่ยนแปรงถ่าน
3) ประเภทของ Solar pump inverter
ตรงนี้เป็นประเด็นเรื่องของราคา
ถ้าปั๊มแบบ DC.Brush motor จะต่อไฟเข้ามอเตอร์ตรงๆ ไม่ต้องมี Controller เลยทำให้มีราคาถูก
ถ้าปั๊มแบบ DC.Brush less motor จะต้องใช้กล่องควบคุม ซึ่งกล่องควบคุมจะมี2 ประเภทคือ
BLDC.Motor controller แบบธรรมดา เช่น สำหรับ ควบคุมรถไฟฟ้า
Solar pump inverter ที่มีระบบ MPPT. ก็จะมีราคาสูง
ซึ่งถ้าเลือกได้ ควรเลือกแบบมีระบบ MPPT.เพราะระบบนี้ช่วยเค้น ดึงกระแสไฟฟ้ามาขับมอเตอร์ ได้อย่าง ” ยิ่งยวด “
ถ้าจะให้เปรียบ
Solar pump inverter แบบ ไม่มีระบบ MPPT. เปรียบเหมือนคั้นกระทิจากมะพร้าวขุด 1 กิโลกรัม ด้วยมือ
Solar pump inverter แบบมีระบบ MPPT. เปรียบเหมือนการคั้นกระทิด้วยเครื่อง ได้หัวกระทิเข้มข้น กว่าแบบใช้มือคั้น
4) คุณภาพและความถูกต้องของการเดินวงจรควบคุม
ตรงนี้ต้องดูคู่มือของผู้ผลิต หรือปรึกษาผู้เขียน
5) คุณภาพของกล่องควบคุม ที่สามารถป้องกันฝน ความชื้น และ สัตว์เลื้อยคลาน
ตู้เหล็กกันฝน กันฝุ่น คุณภาพดี ดูจากคลิป ติดต่อฝ่ายขายได้เลยครับ โทร 02-408-5800-8
6) ทักษะและความชำนาญของผู้ติดตั้ง
ตรงนี้ต้องฝึกครับ หรือ ให้ผมออกแบบ ทั้งตู้และเดินสายให้ได้ครับ
7) สภาพของท้องฟ้าและแสงแดดในเวลานั้น
ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา พื้นที่ และฤดูกาล
8) ความถูกต้องและเหมาพสมของขนาด ชนิด และการวางท่อส่งน้ำ
ศาสตร์ของการจัดการระบบ สูบส่งน้ำ ต้องติดตามบทต่อไปครับ

ถ้าเราจะขายระบบสูบน้ำบาดาล ชุดนี้ออกไป ขนาด 600 วัตต์ ระดับน้ำลึก 25 เมตร ปั๊มตัวนี้จะสูบน้ำให้เราได้วันละกี่ลูกบาศก์เมตร
ซึ่งเราสามารถทำการทดสอบได้ที่ร้าน หรือ บริษัทฯ ของเราก่อน โดยไม่ต้องไป “วัดดวงหน้างาน ” เพราะถ้าเราทดสอบที่บริษัทฯก่อนแล้ว
ถ้าได้ปริมาณน้ำน้อยกว่าที่คำนวน หรือประมาณการ หรือปั๊มเสียหาย เราก็จะได้ ไปหาปั๊มตัวอื่นที่มีคุณภาพดีกว่า หรือ เหมาะสมกับงานนั้น
มากกว่า เอาหละครับ ตอนนี้มาลองทดสอบกันเลย จัดเตรียมเครื่องมือ ระบบ DSPT ตามที่ผมได้เขียนเอาไว้ข้างต้น
1) ประกอบวงจรแผงโซล่าเซลล์ ตามวงจร อนุกรม หรือขนาน เพื่อให้ได้แรงเคลื่อน (Voltage) ตามสเปคของ inverter.
2) นำปั๊มบาดาลที่ต้องการทดสอบ ต่อเข้ากับท่อของชุดทดสอบ DSPT.
3) เปิด สวิช เดินเครื่องปั๊มน้ำ
ในเวลานี้ ปั๊มจะเดินด้วยกำลังขับจากแผงโซล่าฯ ในระบบท่อไม่มีแรงเสียดทาน สภาวะนี้คือการสูบน้ำวนในถังน้ำ คือ TDH=0 เมตร
ให้ทำการวัดอัตราการไหลที่ท่อทางออก อัตราการไหลที่วัดได้ ควรมากกว่า 3000ลิตร/ชม.หรือ50ลิตร/นาที ถ้าต่ำกว่านี้แสดงว่า
ปั๊มตัวนี้ตกสเปก อาจจะลองวัดสักสองสามรอบ เพราะบางจังหวะแดดจะหุบ หรือมีเมฆมาบัง
ชมคลิปด้านบนหลายๆรอบแล้วจะเข้าใจครับ งานชุดนี้ราคา 250,000บาท ลูกค้าซื้อไปติดตั้งเองที่ วังเวียง ประเทศลาว ชุดนี้ใช้งานมาแล้ว 5ปีกว่า เข้าปีที่6
ถ้าต้องส่งทีมไปติดตั้งที่วังเวียง คงจะมีค่าใช้จ่ายอีกประมาณ50,000บาท เมื่อลูกค้าสามารถติดตั้งได้เอง ก็จะมีกำไรเพิ่มขึ้นมาอีก การออกแบบงานของผมจึง
เป็นการผลิตออกมาให้เป็นชุดสำเร็จรูป เหมือนรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งสามารถยกขายต่อ เมื่อไม่ได้ใช้งาน หรือนำมาเทิน เพื่อซื้อเครื่องรุ่นใหม่ ที่ใหญ่กว่าได้
ดูหลายๆรอบนะครับ มีความรุ้หลายอย่างมาก ซ่อนอยุ่ในคลิปนี้ เพราะการทดสอบก่อนส่งเครื่องไปที่งาน สามารถลดความเสี่ยง ค่าใช้จ่ายหน้างาน ค่าเดินทาง
ค่าที่พัก ฯลฯ ได้อย่างมากมาย

กลับมาชมภาพนี้อีกครั้ง เมื่อท่อนที่แล้ว เราทำการวัดอัตราการไหลที่ระดับ 0.0 คือ ยังไม่มีแรงเสียดทานหรือแรงต้าน จะเหมือนกับหย่อนปั๊มบาดาล
ลงไปในบ่อที่มีระดับน้ำลึกต่ำลงไปจากผิวดิน ประมาณ 1 เมตร ซึ่งปั๊มควรจะสามารถสูบน้ำให้เราสามารถวัดอัตราการไหลได้ ตามสเปกหรือฉลากที่
เขียนระบุเอาไว้ว่า Q =3 m3 /h หรือ 3 ลุกบาศกืเมตร/ชั่วโมง
*********** ถ้า อัตราการไหลวัดได้ น้อยกว่า 3000ลิตร/ชั่วโมง หรือ 50ลิตร/นาที ถือว่า ปั๊มสามารถทำงานได้ต่ำกว่าสเปก *****
ในลำดับต่อมา เราจะปรับสภาวะของชุดท่อ DSPT. ให้มีสภาพเดียวกับ การหย่อนปั๊มลงไปสูบน้ำที่ระดับความลึก 25 เมตร ซึ่งสามารถทำได้
โดยการเปิดให้ปั๊มทำงานแล้ว ปิด หรือปรับให้ #4 Pressure control valve ให้เกิดแรงต้าน หรือแรงเสียดทาน เท่ากับ 2.5 bars.
แล้วทำการวัดอัตราการไหลที่ สภาพ 2.5 bars หรือ 25 m. dept.
************** เมื่อทำการวัดอัตราการไหลที่ DSPT(2.5 bars) แล้ว เราควรได้อัตราการไหลน้อยที่สุด ควรไม่ต่ำกว่า 1,611 ลิตร *********
แล้วทำการประเมิน ปริมารน้ำที่สามารถสูบขึ้นมาได้ในแต่ละวัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะใช้ปั๊มรุ่นนี้กับงานนี่หรือไม่ หรือสามารถ
นำไปเป็นข้อมูลในเขียน สเปกให้กับลูกค้า และยังเป็นข้อมูลอ้างอิงในการส่งมอบงาน เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อทำตามที่ผมแนะนำแล้ว ท่านจะมั่นใจว่า เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถสูบน้ำขึ้นมาให้เราได้ตามความคาดหมายและ
ระบบจำลองสภาวะท่อ DSPT.ควรจะมีขนาดท่อ และ อุปกรณ์ต่างๆ ขนาดไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว ทั้งระบบ เขียนแบ่งปันความรู้ให้อย่างละเอียดแล้ว
นำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ครับ ไม่ต้องทำงานแบบตาบอด คลำช้าง ไม่รู้ว่าที่กำลังจับอยู่ เป็นงวงช้าง หางช้าง หรือ ..ำช้าง ทำงานทางด้าน
วิศวกรรมฯ ต้องสามารถ ออกแบบ คำนวน และ ชั่ง ตวง วัด ได้อย่างเป็นรูปธรรม ว่ามีอัตราการไหลที่ กี่ลิตร/นาที ไม่ใช่บอกเพียงว่า น้ำเต็มท่อดี
น้ำพุงไกล สูงกว่าต้นมะเขือ มาช่วยกันสร้างมาตรฐานให้กับ วงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกันครับ

สำหรับท่านที่ไม่เคยใช้งาน เกจวัดแรงดันหรือ Pressure gauge ขอเสริมความรู้ให้นะครับ ขีดสเกลจะมีอยู่สองวงคือ
วงนอกสีดำ จะเป็นสเกลแสดงค่า หย่วยเป็น PSI คือหย่วยเป็น ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
วงในสีแดง จะเป็นสเกล แสดงค่า หน่วยเป็น bar แต่ละขีด จะมีค่าเท่ากับ 0.25 bar.
ในภาพแสดงค่า = 2.5 bar
ถ้าทำส่วนไหนไม่ถูกก็สามารถสอบถามผมได้ทาง Line : prapondenco
หาอุปกรณ์อันไหนไม่ได้ มีจำหน่ายที่ ร้านค้า online

เมื่อเราสามารถทำการทดสอบเครื่องสูบน้ำของเราแล้ว ค่าอัตราการไหล ที่ระดับความลึก ตรงกับความต้องการแล้ว เราก็สามารถเดินทางนำไปติดตั้ง
ให้กับลูกค้าได้อย่างสบายใจครับ ว่าจะสูบน้ำได้ตามความต้องการของลูกค้า ในการผลิตเครื่องสูบน้ำของผู้เขียน ส่วนหนึ่งลูกค้าต้องการนำไปติดตั้งเอง
เพื่อเป็นการต่อยอด หรือขยายธุรกิจออกไป เช่นลูกค้าทำระบบกรองน้ำให้กับรีสอร์ท ซึ่งก็ทำงานเกี่ยวกับระบบน้ำอยู่แล้ว มีทีมช่างเก่งๆอยู่แล้ว เพียงส่งทีม
มาร่วมทดสอบที่โรงงาน และทดลองปรับแต่งและประกอบ ก็สามารถที่จะติดตั้งได้เอง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับงานนั้นๆ
เมื่อติดตามอ่านบทความมาถึงตอนนี้ ท่านที่มีความเข้าใจจะทราบแล้วว่า
1) การประกอบหรือสร้างชุดสูบน้ำบาดาล พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตนเองนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก
2)สามารถพิสูจน์ทราบ ว่าปั๊มบาดาลที่เรามีอยู่สามารถสูบน้ำได้ลึกเพียงใด ได้น้ำมากน้อยขนาดไหน หรือ สามารถหาซื้อปั๊มตัวที่เราต้องการได้
อย่างมีความรู้ ความเข้าใจ ไม่เสี่ยงดวง เหมือนตอนที่ผมต้องตัดสินใจซื้อเครื่องสูบน้ำเก่าๆในวัยหนุ่ม
3) ท่านที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้อยู่แล้ว ก็จะมีความมั่นใจมากขึ้น มีอะไรถามได้ที LINE :prapondenco
4) ท่านสามารถทดสอบระบบสูบน้ำ ก่อนนำไปติดตั้งได้ ด้วยความแม่นยำสูงสุด
Last up date April 12,2023

การเขียนบทความที่เป็นวิชาการ ให้อ่านแล้วเข้าใจ น่าติดตาม และสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าท่านผู้สนใจได้อ่านบทความนี้ทั้งหมดอย่างตั้งใจ และจินตนาการตามคำบรรยาย และถ้าสามารถกดเครื่องคำนวนหรือเครื่องคิดเลขตาม ได้คำตอบหรือตัวเลขตรงกัน ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านสามารถที่จะหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบเป็นชุดสูบน้ำที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แน่นอน และถ้าได้ลงมือประกอบติดตั้งด้วยตนเองได้สักครั้ง ถ้าเกิดความรู้สึก ชอบใจ หรือมั่่นใจก็สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี ยิ่งในช่วงโควิทผสมกับสงครามยูเครน แรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก บ้านเราก็มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ หลายครอบครัวต้องเริ่มบุกเบิกชีวิตกันใหม่ การที่มีความรู้ มีแนวทางในการสร้างระบบสูบน้ำด้วยตนเองเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมของครอบครัวก็นับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างสูง อ่านเข้าใจ ไปเลือหาเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีขายอยู่ดาษดื่น ราคาก็ถูกลงหลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อน เมื่อทำได้ดี มั่นใจ หรือชำนาญแล้วก็ลองรับจ้างทำเป็นรายได้เสริม ในพื้นที่ท้องถิ่นหรือในอำเภอที่เราอาศัย ก็สามารถเป็นรายได้ในระหว่างที่รอให้ผลผลิตออกสู่ตลาด ติดขัดอะไร ส่งLine มาถามผมได้ครับ ยินดีตอบ Line id: prapondenco




เมื่อมีโอกาสผู้เขียนก็จะติดตามไปกับชุดทีมติดตั้งหน้างาน ซึ่งเป็นทีมงานที่เรียกว่า ” ตัวแข็ง” ซึ่งการออกไปทำงานหน้างานนั้นเราจะพบกับปัญหามากมายหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึง การเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการทำงานที่หน้างาน ซึ่งส่วนมากจะเป็นพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกล ไม่มีกระแสไฟฟ้า ทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่สะดวกสบายเหมือนการทำงานที่โรงงาน ซึ่งสามารถเบิกวัสดุอุปกรณ์จากสโตร์ได้ทุกอย่าง รวมทั้งมีเครื่องจักรเครื่องมือ และมีกำลังพล คอยช่วยเหลือแบบเต็มกำลัง
การทำงานหน้างาน จึงเป็นบทพิสูจน์ความสามารถของหัวหน้าทีมได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนเองก็มักจะทดสอบหัวหน้างาน หรือระดับผู้จัดการด้วยการพาออกไปหน้างานด้วยเสมอๆ
รวมถึงได้ทำการพิสูจน์ทราบว่า รายการคำนวน การออกแบบ และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตจำหน่าย เมื่อนำไปใช้ในเรือกสวนไร่นา แล้วมีความเหมาะสม แข็งแรงเพียงใด ถ้าไม่ได้ออกไปทำการพิสูจน์ทราบด้วยตนเอง ก็คงไม่มีข้อมูลมาสนับสนุน ผลงานการคำนวน และคงไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาเป็นตุเป็นตะ ได้ตามข้อมูลที่เขียนเอาไว้ข้างต้น
บางท่านถามผู้เขียน ด้วยความเป็นห่วงว่า ” เขียนซะ ละเอียดขนาดนี้ คนเขาก็ไปทำเองกันหมด จะขายของได้เหรอ? ” ก็ขอเรียนว่า เป็นภาระกิจที่ตั้งใจมานานตั้งแต่เริ่มทำกิจการตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มน้อยแล้วว่า ในวันข้างหน้าเมื่อชีวิต มีความมั่นคงแล้วก็จะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อสนองคุณแผ่นดินเกิด ก็พอดี ห้องทดลอง Sky Lab
มันร่วงกลับลงมาสู่พื้นโลก แผงโซล่าเซลย์ก็เริ่มมีราคาถูกลง ผู้เขียนเลยสั่งซื้อเข้ามาทดลองเรียนรู้เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว และสุดท้ายก็มาหลงรักศาสตร์ของการออกแบบ
เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่อตรง และก็เขียนเป็นบทความต่างๆเอาไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจ เอาไปสร้างทำกัน ผมทำธุรกิจหลายอย่าง และได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าผู้มีอุปการะคุณในหลายวงการ ทำให้พอมีกำลังที่จะหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆมาทดสอบมาทดลองทำ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆแล้วนำมาเขียนบทความ แบ่งปัน
ประสพการณ์และความรู้กัน ท่านผู้มีอุปการะคุณสามารถ สนับสนุนผู้เขียนได้หลายช่องทาง ดังนี้