
ใในช่วงเวลานี้มีการระบาดของโรคไข้หวัดโควิท19 และวิกฤตสงครามยูเครน น้ำมันแพง เศษฐกิจตึงตัว หลายครอบครัว หลายชีวิต เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ในชีวิต ซึ่งส่วนมากจะเป็นไปในทางที่แย่ลง หลายคนเดินทางกลับไปตั้งหลักที่บ้านเกิด หลายคนเปลี่ยนอาชีพ ตามวีถีความเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด อาชีพ
ดั้งเดิมคือเกษตรกรรม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะมีที่ดินเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
” น้ำ ” คือปัจจัยหลักในการทำเกษตรกรรม ผู้เขียนจึงขอเรียบเรียงบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นของขวัญ เป็นกำลังใจให้กับท่านที่กำลังเริ่มต้นพลิกฟื้นอาชีพเกษตรกรรม
เครื่องสูบน้ำเป็นเครื่องมือจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการทำการเพาะปลูก ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีการสร้างเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ สำหรับใช้งาน
ในพื้นที่ห่างไกล ที่ยังไม่มีระบบไฟฟ้าพื้นฐาน หรือต้องการประหยัดต้นทุนน้ำมันเชื่อเพลิงที่ใช้ในการสูบน้ำ จะเอาความรู้ความเข้าใจ ไปประกอบเพื่อใช้งานเอง หรือนำไป
ประกอบเป็นอาชีพ เพื่อหารายได้ในระหว่างรอผลผลิต

ในช่วงเริ่มต้นออกแบบและผลิตเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์รุ่น DCSP0124-300W-P25
ผู้เขียนได้สั่งซื้อปั๊มน้ำหลายประเภทหลายแบบ เพื่อทำการทดสอบดูว่า ถ้าเราต้องขับเคลื่อน
ปั๊มน้ำด้วยแผงโซล่าเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ต้นทุนต่ำสุด แต่ยังสามารถสูบน้ำได้จริง
เริ่มทะยอยหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่างๆ จนพบว่า ถ้าเราจะสร้างเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กที่สุด ที่ยังสามารถทำงานได้จริง เราจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
1) ปั๊มชักขนาดท่อ1นิ้ว
2) มอเตอร์กระแสตรงขนาด300วัตต์
3) แผงโซล่าเซลล์ขนาด 300 วัตต์
การที่เลือกใช้ปั๊มชักสำหรับการสูบน้ำ ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ปั๊มชักเป็นปั๊มโบราณที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน เกษตรกรมีความคุ้นเคยกับการใช้งาน
การซ่อมบำรุง การติดตั้งระบบท่อสูบและส่งน้ำ รวมถึงสามรถหาซื้อได้ทั่วประเทศไทย รวมถึงชิ้นส่วนอาหลั่ยต่างๆ ก็สามารถหาซื้อได้ง่ายทุกตำบล ซึ่งแต่เดิม
จะใช้เครื่องยนต์เล็กประเภทสูบเดียวเป็นตัวขับเคลื่อน มาถึงตอนนี้เราจะต้องขับเคลื่อนปั๊มชักด้วยพลังงานไฟฟ้า เราจะต้องมีการคิดคำนวนเพื่อให้ได้ขนาดของ
มอเตอร์ และแผงโซล่าเซลล์ว่าจะต้องใช้กี่แผง?
จากรูปภาพด้านบน ที่ผมนำมาจาก http://www.pumpvr.com เป็นปั๊มชักที่ผมเลือกใช้กับเครื่องสูบน้ำ DCSP0124-300W-P25 ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นสินค้าที่
ผลิตในประเทศไทย มีโรงงานทันสมัย มีการทดสอบและมีค่าตัวเลขของสเปก (specification)ที่ชัดเจน ที่ต้องนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบ และมีราคาที่
เหมาะสม มีอาหลั่ยครบทุกชิ้น และชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กหล่อ จะมีความทนทาน อายุใช้งานยาวนาน

เมื่อเราอ่าน Specification ของ PVR49 เราจะพบว่า
เพื่อให้ได้อัตราการไหล 2000-3000ลิตร/ชั่วโมง
ถ้าขับด้วยเครื่องยนต์จะต้องใช้ขนาด 3 แรงม้า (1แรงม้า = 746วัตต์)
ถ้าขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า AC.หรือไฟฟ้าตามบ้าน มอเตอร์จะต้องมีขนาด
1/3 ถึง 1/2 แรงม้า หรือ 248วัตต์ ถึง 373 วัตต์
แต่ในท้องตลาดจะมีมอเตอร์ DC.ขนาด 350วัตต์ เป็นขนาดเล็กสุด
ในสเปกระบุเอาไว้ว่า ความเร็วรอบของเครื่องยนต์= 1,500 รอบ/นาที
มูเล่ขับของเครื่องยนต์มีขนาด 2นิ้ว สายพานเป็นแบบร่อง A.

มาเขียนต่อเช้าวันที่22กค.2565.
จากปั๊มชักขนาดท่อ 1 นิ้ว เดิมใช้เครื่องยนต์ขนาด 3 แรงม้า (2238วัตต์) เป็นตัวขับเคลื่อน
แต่ทางโรงงานระบุว่า ความเร็วรอบที่จะต้องปรับใช้คือ 1500รอบ/นาที ซึ่งจะตรงกัน หรือใกล้เคียง
กับความเร็วรอบมาตรฐานของมอเตอร์ไฟฟ้าระบบ AC.(ไฟฟ้าบ้าน220v.) คือ 1450รอบ/นาที
ถ้าหาความสัมพันธ์ของความเร็วรอบ จากสูตร D1*N1 = d2*n2
แทนค่า D1 คือ มูเล่ขับของเครื่องยนต์ขนาด 2 นิ้ว
N1 คือ ความเร็วรอบของเครื่อง 1500 รอบ/นาที
d2 คือ มูเล่ตามหรือมูเล่ของแกนชัก ของปั๊มชัก จะมีขนาด 8 นิ้ว
n2 คือ ความเร็วของเพลาแกนชัก ของปั๊มชัก จะหมุนที่ความเร็วรอบ เท่าใด
แทนค่า D1*N1 = d2*n2
2 นิ้ว * 1500 รอบ/นาที = มูเล่แกนชัก ขนาด 8 นิ้ว * ความเร็วแกนปั๊ม
n2 = 2 * 1500 /หารด้วย 8
n2 = 375 รอบต่อนาที
ผผมขอเขียนอย่างละเอียด ถึงที่มาที่ไปอันมีพิ้นฐานงานทางด้านวิศวกรรมฯ เพื่อให้บทความนี้มีประโยชน์ สำหรับท่านที่ต้องการประกอบเครื่องสูบน้ำ
พลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาใช้เองสักชุด จะได้ทราบว่า ต้องซื้ออุปกรณ์อะไรบ้าง และซื้อจากที่ไหน ซื้อจากต้นทางเลยจะได้ราคาถูก และสามารถนำ
ความรู้หรือข้อมูลนี้ ไปดัดแปลง ปั๊มชัก หรืออุปกรณ์ที่เรามีอยู่เดิมแล้ว ให้สามารถนำมาใช้งานได้ หรือสามารถนำข้อมูลไปช่วยให้โครงการที่ค้างอยู่
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ถ้ามองภาพซ้ายมือ ภาพนี้คือ เครื่องสูบน้ำ DCSP0124-300W-P25 ยุคแรกเลยที่ผมผลิตออกจำหน่าย ซึ่งแม้แต่โรงงานผู้ผลิตปั๊มชักเอง ก็ยังสงสัย เพราะผมกลับทางด้านสูบ เอามมาไว้ทางด้านขวามือ (จากของเดิมจากโรงงาน จะยู่ทางด้านซ้ายมือ) ด้วยเหตุผลมาจากการวางระบบท่อสูบครับ แต่ประสิทธิภาพการทำงานยังสมบูรณ์ทุกประการ ในภาพเราพอจะมองออกนะครับว่า ถ้าเราจะสร้างเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เราจะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
1) แผงโซล่าเซลล์ ขนาดของแผง จำนวนแผง และกำลังวัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์
2) ปั๊มชัก ขนาด 1 นิ้ว คือขนาดเล็กสุด จะสามารถสูบน้ำได้ประมาณ 2200ลิตร/ชั่วโมง
3) มอเตอร์ไฟฟ้า DC.ขนาด 350 วัตต์
4) มูเล่ขับของมอเตอร์ที่ต้องกลึงใหม่
5) สายพานขับร่อง A. ขนาดความยาวตามลักษณะของแท่นวางมอเตอร์
เอาเป็นเบื้องต้นเพียงเท่านี้ก่อนในลำดับต่อไปจะเขียนถึงทางเลือกต่างๆในการ
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้งาน
ใในการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ต่างๆมาประกอบเป็นเครื่องสูบน้ำ DCSP0124-300W ของผู้เขียนในช่วงทศวรรตที่แล้ว จะพิจารณาถึงความทนทาน อายุการใช้งาน
ประสิทธิภาพ เรื่องของราคาเป็นลำดับรองลงมา เพราะเมื่อเราผลิตสินค้าออกไปจำหน่ายแล้ว การซ่อมบำรุง หรือบริการหลังการขาย จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถ
คาดการณ์ได้ ดังนั้นการออกแบบจึงเน้น ใช้งานง่าย ทนทานและอายุใช้งานโดยรวมแล้วควรจะมีอายุการใช้งาน10ปีขึ้นไป ตอนนี้เรามาศึกษาทำความเข้าใจว่าอุปกรณ์
ส่วนประกอบหลักๆของแต่ละชนิด เราควรพิจารณาจากอะไร? ควรมีรายละเอียดทางวิศวกรรมฯเช่นใด (specification)


องค์ประกอบแรกของระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิต์ก็คือ แผงโซล่าเซลล์ ในยุคแรกๆ ราคา25บาทต่อ1วัตต์ จะเป็นการนำเข้ามาจากผู้ผลิตในประเทศจีน
ซึ่งสินค้าจากประเทศจีน มีความหลากหลาย เราต้องหาโรงงานที่มีมาตฐานให้พบ และต้องมีข้อกำหนดที่ชัดเจน ช่วงนั้นผู้เขียนจึงสั่งผลิตมาใช้งานเป็นลอต
ซึ่งทางโรงงานจะต้องติดบาร์โค๊ต และมีชื่อบริษัทฯของผู้เขียนเอาไว้ใต้กระจก เพื่อให้เป็นการผลิตให้กับสินค้าของเราโดยเฉพาะ ราคาก็จะสูงกว่าท้องตลาด
แต่เราจะได้ความมั่นใจว่า เป็นของใหม่ที่ผลิตขึ้นมาตามสเปกของเรา ไม่โดนของเก่าย้อมแมว ในการค้าขายหรือการนำเข้าในยุคนั้นยังมีความเสี่ยงอยู่มาก
แถมยังมีเรื่องตลกตามมาอีกเยอะในเรื่องของไม่ได้รับการสนับสนุนจาก… ช่างมันเถอะ…….อัตตาหิ อัตโนนาโถ…….


ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป แต่ปรัชญาของลุงเติ้ง ที่กล่าวไว้ว่า ” แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้เป็นพอ ” ถ้าเรามองภาพด้านบนซ้ายมือ เราจะสามารถทำความเข้าใจได้ว่า
ถ้าเราต้องการจะขับมอเตอร์ DC.ขนาด240 วัตต์ แรงเคลื่อน18โวลล์ เราก็ต้องมีแผงโซล่าเซลล์จะกี่แผงก็ตาม รวมกันแล้วมีกำลังวัตต์ใกล้เคียงกับขนาดของมอเตอร์
ที่เรามีอยู่วิธีการต่อก็ต้องต่อแบบขนานกัน เพื่อให้แรงเคลื่อน หรือ โวลล์ เหมาะสมกับมอเตอร์ที่มี จะมาแจงกันชัดๆในบทต่อไป
ส่วนภาพทางขวามือ ผมเซิทจากใน Facebook โดยใช้คำว่า ” แผงโซล่าเซลล์มือ2″ ก็ขออนุญาตคุณบอยด้วยครับ ในภาพเราพอจะตีความหมายได้ว่า เป็นแผงโซล่าเลล์
ที่ถูกถอดออกมาจาก Solar farm เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ประมาณ5ปีถึง10ปี ประสิทธิภาพจะลดลงประมาณ5 % ถึง 10% ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพและสภาพของการใช้งาน
ที่ทาง Solar farm เขายอมเปลี่ยนใหม่ก็เพราะ ถ้าเติมแผงใหม่เข้าไปแทน จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น ได้เงินมากขึ้น และราคาของแผงโซล่าในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับ
ยุคทศวรรตที่แล้ว ถูกลงประมาณ2.5 เท่า จึงเป็นโอกาสดี ที่จะมีแผงโซล่าเซลล์ที่ยังสามารถใช้งานได้อีกเกือบ10ปี หรือมากกว่า ถ้าเรานำมาเพื่อใช้ในการสูบน้ำ
ราคาต่อวัตต์ ในวันนี้ แผงละ2300บาท หารด้วย 300 วัตต์ ราคาเฉลี่ยวัตต์ละ7.66 บาท มีการรับประกัน มีบริการเก็บเงินปลายทาง ฯลฯ ลองสอบถามดูหลายๆเจ้า แล้วค่อย
ตัดสินใจ ในยุคนั้นแผงจะเป็นแบบ poly เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่จะประเภทไหนก็เอามาใช้งานได้หมดครับ และเชื่อว่าต้องเป็นสินค้าคุณภาพดี ไม่อย่างนั้นคงไม่ผ่านการตรวจรับงาน
หรือถ้าท่านที่มีกำลัง ก็อาาจะมองหาแผงใหม่ ราคาก็จะตกราวๆ 10 บาทต่อวัตต์ สามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค้าออนไลย์ ใน LASADA ซึ่งจะมีโอกาสเลือกแบบ Mono type
ซึ่งมีความตอบสนองที่รวดเร็วกว่าแบบ Poly ซึ่งก็ไม่ได้ แตกต่างกันมากมายนัก หรือว่ามีแผงที่มีอยู่แล้วในมือ แผงเล็ก แผงน้อย นำมายำรวมกันได้หมดครับ เลือกซื้อเลือกหา
ตามกำลังและศรัทธา ของแต่ละท่าน หรือบางท่านอยากจะลองวิชา ทำถวายวัดก็ได้บุญดีนะครับ
ปปั๊มชัก หรือ Piston pump คือองค์ประกอบหลักตัวต่อมา ปั๊มชัก เป็นปั๊มโบราณ ในทวีปยุโรป ก็มาการผลิตและใช้งานอยู่ ผู้เขียนเคยถามราคาไปทางยุโรป
ปั๊มชักขนาด2น้ิว ราคาหลายหมื่น ซึ่งก็ลองถามดู จะซื้อมาถอดดูข้างในว่า มันมีอะไรที่แตกต่างไปจากปั๊มชักบ้านเราไหม? ราคาที่สูง ก็อาจจะมาจากค่าขนส่ง
และปัจจัยอื่นๆ ในช่วงเวลานั้นก็ได้ซื้อมาลองใช้หลายแบบ สุดท้ายก็มาลงตัวที่ปั๊มชักสีทอง ตามภาพด้านบน ด้วยเหตุผลที่พอใจในราคา คุณภาพ และมีอะหลั่ย
ครบทุกชิ้น
มีคำถามมาว่า มีปั๊มอยู่แล้ว ใช้ได้ไหม? ขอบอกว่าใช้ได้หมดครับ ถ้ายังสามารภขัดสนิม ปรับแต่งให้ทำงานได้ และอะหลั่ยภายใน ส่วนมาก จะใช้แทนกัน เกือบทุก
แบรนด์ ต้องลองซื้อมาใช้ดูครับ ที่ผมใช้ยี่ห้อเดียวก็คือ ผมทำขาย ผมต้องสต็อคอะหลั่ยเอาไว้บริการลูกค้าของผมเอง ที่ขายไปทั่วประเทศ ไปจนถึงประเทศเพื่อนบ้าน
ก็ยังใช้งานได้ปรกติ
มีอีกคำถามหนึ่งถามว่า ถ้าใช้ปั๊มชักขนาดใหญ่กว่านี้ เช่นขนาดท่อ 2 นิ้ว จะได้ไหม คำตอบคือได้หมดครับ เพียงแต่เราต้องเพิ่มขนาดมอเตอร์ และจำนวนแผงโซล่าเซลล์
ให้มีกำลังมากขึ้น สินค้าที่ผมผลิตขาย ผมจะใช้
* มอเตอร์บัสเลส BLDCขนาด 350 วััตต์ 24 vdc สำหรับปั๊มชัก ขนาด 1 นิ้ว (สามารถใช้ขนาด500วัตต์ได้ ถ้ามีแผงโซล่าเซลล์เหลือ)
* มอเตอร์บัสเลส BLDC ขนาด 500 วััตต์ 36 vdc.สำหรับปั๊มชัก ขนาด 2 นิ้ว (สามารถใช้ขนาด 800วัตต์ หรือ 1000วัตต์ได้)
********************** ถ้าต้องการใช้ปั๊มขนาดใหญ่ขึ้น ให้ดูสเปกของผู้ผลิตว่า ใช้กำลังขับเท่าใด หน่วยเป็นวัตต์ *************************
******** เราสามารถเพิ่มขนาดของมอเตอร์ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ตามความต้องการ เพิ่มขนาดปั๊มชักให้ใหญ่ขึ้นได้ตามที่มีขายในท้องตลาด เพียงแต่ว่า
เราต้องเพิ่มจำนวนแผงโซล่าฯ เพื่อเพิ่มกำลังวัตต์ของไฟฟ้า แต่ต้องทดรอบ ให้ความเร็วรอบของแกนปั๊มชัก เดินที่ความเร็วรอบ 300ถึง500รอบ
ต่อนาที เร็วกว่านี้ ปั๊มจะชำรุด เกิดความเสียหายได้ครับ **************


มมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC.Motor ที่เราสามารถนำมาขับเคลื่อนปั๊มชักขนาด1นิ้ว และสามารถสูบน้ำได้ ด้วยแผงโซล่าเซลล์ขนาด300วัตต์ ก็จะมีอยู่สองแบบคือ
1) DC.Motor MY1016Z2 ขนาด250 วัตต์ 24 โวลล์DC.
เป็นมอเตอร์ของสกูตเตอร์ หรือจักรยานไฟฟ้า ซึ่งสามารถนำมาติดตั้งสำหรับจักรยานธรรมดา ให้เป็นจักรยานไฟฟ้าได้ ที่หัวของมอเตอร์MY1016Z2 จะมีเฟืองขนาดเล็ก
สำหรับใช้ขับโซ่จักรยาน และมีเกียร์ทดในตัว ให้ความเร็วรอบอยู่ที่ประมาณ 500รอบต่อนาที ถ้าเราจะนำมาขับเดินปั๊มชัก ก็จะต้องทำมูเล่ร่องA.ขนาด6นิ้วขึ้นมาเป็นพิเศษ
เพราะมูเล่ที่แถมมากับปั๊มชัก มีขนาด2นิ้ว มีรูขนาดใหญ่ ไม่สามารถใช้งานกับ MY1016Z2 ได้ เมื่อทดรอบออกมาแล้วจะได้ความเร็วรอบที่แกนเพลาปั๊มชัก 375รอบต่อนาที
ซึ่งท่านใดที่ต้องการใช้มอเตอร์รุ่นนี้ ก็สั่งซื้อตามร้านค้าที่เขามีขาย ราคาอยู่ราวๆ 1250 บาท

ลองเซิท MY1016Z2 เราก็จะพบว่ามีจำหน่ายกันมากมาย บางรายอยู่ในประเทศ บางราย
ส่งตรงจากต่างประเทศ แถมมีมูเล่ให้เรียบร้อย ในภาพราคา1250บาท แต่ระวังนิดหนึ่งครับ
ถ้าแบบในภาพ มูเล่ขนาด4นิ้ว พอทดรอบ มูเล่ 8 นิ้ว แล้ว รอบมันจะลดลงมาเหลือที่ 250รอบ
ต่อนาที จะมีข้อผิดพลาดดังนี้
1) ปริมาณน้ำที่สูบได้จะลดลงจาก 2200ลิตรต่อชั่วโมง เหลือประมาณ 1466ลิตรต่อชั่วโมง
ถ้าใช้ปั๊มชัก สีทองรุ่น PVR49 ( ดูรายละเอียดในบทต่อไป ถ้าเป็นปั๊มชักรุ่นอื่น แบบอื่นก็จะ
มีความแตกต่าง เป็นตัวเลขที่ผมเก็บข้อมูลจาก ปั๊มชัก PVR49 หลายปี)
2) มูเล่ตัวแกนปั๊ม ที่โรงงานแถมมาขนาด 8 นิ้ว จะเป็นร่อง A. ส่วนในภาพเป็นร่อง B. ตรวจสอบ
สอบถามให้แน่นอนก่อนสั่งซื้อครับ เดี๋ยวจะซื้อของผิดเช่นสายพาน และมูเล่
ถ้าอยากใช้แบบนี้จริงๆ แนะนำให้ซื้อเฉพาะมอเตอร์ แล้วเอามอเตอร์ไปที่โรงกลึงประจำตำบล
เอารูปข้างบนซ้ายมือให้ช่างดู บอกช่างว่า ” อยากได้มูเล่ร่อง A ขนาด 6นิ้ว ใส่กับมอเตอร์ตัวนี้
เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นครับ ดีกว่าส่งเงินไปต่างประเทศ ซื้อแต่ของที่จำเป็นครับ
ข้อดีของ MY1016Z2 คือต่อสายไฟจากแผงโซล่าฯเข้ากับมอเตอร์ได้เลย ไม่ต้องมีกล่อง
ควบคุม แดดมา มีไฟ มอเตอร์วิ่ง ปั๊มเดินสูบน้ำได้เลย
ข้อด้อย คือความร้อนสูงเพราะเปลือกเป็นเหล็ก วิ่งนานๆสายไฟไหม้ สูบน้ำไป พักไปครับ
เสียงดัง ภรรยาไม่ปลื้ม ต้องติดไว้ไกลๆบ้าน เพราะฟันเฟืองขับเป็นเหล็กเวลาเดินเครื่องเสียงดัง
ใช้งานไปสักระยะต้องเปลี่ยนแปรงถ่าน แบบสว่านไฟฟ้าครับ

มอเตอร์แบบที่สองคือ BLDC Motor (Brush Less Direct Current Motor)เป็นมอเตอร์ที่ออกแบบ
สำหรับรถไฟฟ้า รถกอล์ฟขนาดเล็ก ประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่น MY1016Z2 เพราะเป็นมอเตอร์รุ่นหลังที่สามารถใช้งานต่อเนื่องหลายชั่วโมง จากประสบการณืของผุู้เขียน ที่ผลิต DCSP0124-300W-P25
จัดจำหน่ายและติดตั้ง มอเตอร์รุ่นนี้ไม่มีปัญหา ทำงานได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตกดิน
เดินเครื่องวันนละ8ชั่วโมง ติดต่อกัน6ปี
แต่มีผู้ผลิตหลายรายมากในต่างประเทศ และมีการนำเข้ามาจำหน่าย ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ซึ่งอายุการใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของมอเตอร์ และ ความมีมาตรฐานในการควบคุม และตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งรายละเอียดนั้นลึกมาก ผู้เขียนเองสั่งผลิตเข้ามาประกอบเครื่องขาย พอของมาถึงก็ต้องมีการปรับแต่งก่อนนำมาใช้งาน ทั้งตัวมอเตอร์และกล่องคอนโทรล ราคาที่มีผุ้จำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบัน มีความแตกต่างกัน
บางรายราคารวมกล่องควบคุม บางรายขายแยกกัน เพื่อให้ดูว่าราคาถูก ถ้าเริ่มต้นสร้าง ยังไม่ได้ซื้อมอเตอร์ ก็ขอแนะนำให้ใช้ BLDC Motor ราคาสูงกว่าประมาณ1เท่า แต่ใช้แล้วไม่มีปัญหาจุกจิก ถ้าการติดตั้ง เดินสายวงจร ถูกต้องเรียบร้อย

การสูบน้ำด้วยแผงโซล่าเซลล์แบบต่อตรงจะเป็นการทำงานที่มีสภาวะการทำงานที่ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องฟ้าในแต่ละวัน ท้องฟ้ามีเมฆมากหรือน้อย ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา เมื่อเราประกอบเครื่องสูบน้ำสำเร็จแล้ว เราก็ต้องทำการวัดปริมาณน้ำที่สูบได้ จดบันทึก ทำการวัดซ้ำๆกันทุกวัน ทุกช่วงเวลา แล้วจดบันทึกเอาไว้ว่าเครื่องสูบน้ำ
ของเราในแต่ละช่วงเวลาสามารถสูบน้ำได้กี่ลิตร ในเวลา 1 นาที ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา เช้า สาย บ่าย เย็น มีเมฆ ไม่มีเมฆ จะมีความแตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเอาไว้วางแผน
เรื่องของการใช้น้ำ
สำหรับท่านที่ทำเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จำหน่าย หรือขายให้ประชาชนนำไปใช้งาน ยิ่งต้องมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทดสอบ วัดอัตราการไหล ในแต่ละช่วงเวลา
และในแต่ระช่วงระดับความสูงในการส่ง ( Total Dynamic Head) หรือ TDH. โดยปรกติผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำ หรือปั๊มน้ำจำหน่าย จะมีการทดสอบ ทดลองเดินปั๊มหรือเครื่องสูบน้ำ แล้วทำ
การวัด จดบันทึกค่าต่างๆ ที่ปั๊มสามารถทำงานได้ ในแต่ละช่วงเวลา แล้วนำมาทำเป็น Performance curve เพื่อใช้แ็นการอ้างอิงในการออกแบบ

วิธีการใช้งาน Performance curve ของเครื่องสูบน้ำDCSP0124-300W-P25 สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจว่าจะซื้อไปใช้งานได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น
ต้องการสูบน้ำจากบ่อน้ำโดยมีระดับน้ำต่ำจากพื้นดินหรือบนตลิ่ง 3 เมตร ส่งไปด้วยท่อแนวราบขึ้นเนินสูง4เมตร ดันส่งขึ้นหอถังน้ำสูงรวมคอถัง8เมตร ถ้าใช้เครื่องDCSP0124-300W-P25 เครื่องจะสามารถสูบส่งน้ำขึ้นถังให้เราได้วันละกี่ลบ.เมตร?
เรามารวมTDH.ก่อน ระยะสูบลึก 3 เมตร+ขึ้นเนิน4เมตร+ขึ้นถัง8เมตร รวม TDH=3+4+8=15เมตร
เราก็เอาไม้บรรทัดวางที่เส้นกราฟ15เมตรทางซ้ายมือ แล้วลากเส้นสีเขียวไปตัดเส้นโค้งสีน้ำเงิน
แล้วเราก็ลากเส้นจากจุดตัดลงมาด้านล่างก็จะอ่านค่าได้1600ลิตร/ชั่วโมง (ช่องเล็กๆมีค่าเท่ากับ50ลิตร)
เราจะได้น้ำขึ้นถังวันละ?
ขอให้คิดว่าเราควรคำนวนจากชั่วโมงแสงแดดเต็มๆคือเวลา 9.00น.ถึง15.00น. =6 ชั่วโมงเต็ม
เราควรได้น้ำเติมถังน้ำ = 6 ชั่วโมง x 1600ลิตร/นาที = 9600ลิตรหรือ 9.6คิว/วัน
เราจะได้ข้อมูลนำไปประกอบการพิจารณาว่าจะซื้อถังน้ำกี่ถัง จะเก็บน้ำไว้ทั้งหมด หรือสูบไปใช้ไปเพราะน้ำ1คิว1000ลิตร มีน้ำหนัก 1000กก.หรือ1ตัน ยกขึ้นไปสูง8เมตร ขาตั้งถังต้องแข็งแรงและอีกหลายเหตุผล ที่จะต้องนำมาพิจารณา
โรงงานผู้ผลิตปั๊มน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำ ก็จะมีการทดสอบ ทดลอง วัดผล เครื่องสูบน้ำชนิดนั้น ด้วยการทดสอบสูบดันน้ำ ด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า แล้วนำค่าที่ทดสอบได้
นำมาทำเป็น Pump Performance curve ของปั๊มตัวนั้น มักจะมีอยู่ในสมุดคู่มือ เพื่อที่ลูกค้า หรือผู้ออกแบบ จะนำไปเปรียบเทียบกับหน้างานที่ต้องการใช้ ว่าสามารถใช้งานได้ตาม
วัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ ก็จะขยับขึ้นไปในขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือใช้กำลังขับด้วยแรงม้ามากขึ้น
การประกอบหรือสร้างเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมแสงแดดในแต่ละวัน หรือในแต่ละช่วงเวลาได้
บางวันแสงแดดดี ก็สูบน้ำได้ดี บางวันแดดเปรี้ยงๆ แต่เมฆมาก หรือบางครั้งฟ้าหลัวจากการเผาไร่ หรือควันของไฟป่า ลอยมาบดบัง ดังนั้นถ้าเราจะทำเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ขึ้นมาใช้เอง เราต้องเข้าใจก่อนว่า ปริมาณน้ำที่สูบได้ก็อาจจะต่ำกว่า ปริมาณของน้ำที่สูบทดลองจากห้องทดสอบของโรงงาน

ด้านซ้ายมือคือสเปกของทางโรงงานที่ทดสอบ ปั๊ม PVR49
เมื่อผมนำมาประกอบเป็น DCSP0124-300W-P25
ใช้ต้นกำลังจากแผงโซล่าเซลล์ Denco super black hi power ขนาด300วัตต์ 36vdc.
ขับมอเตอร์ Brush less ขนาด350วัตต์ 24 vdc. ทดรอบด้วย sun gear กirect driven.
อัตราการไหล 2,200 ลิตร/ชั่วโมง ที่ระดับพื้นดิน TDH=0 m pressure gauge =0
อัตราการไหล 1,900 ลิตร/ชั่วโมง เมื่อดันน้ำขึ้นถังสูง 5 เมตร pressure gauge =0.5 bar.
อัตรากรไหล 1,600 ลิตร/ชั่วโมง เมื่อดันน้ำขึ้นถังสูง 15เมตร pressure gauge = 1.5 bars.
อัตราการไหล 1,250 ลิตร/ชั่วโมง เมื่อดันน้ำขึ้นถังสูง 20 เมตร pressure gauge =2.0 bars.
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบระบบสูบน้ำ ซึ่งค่าที่วัดได้ก็อาจจะมีความแปรผัน
ไปตามสภาพหน้างาน ขนาดท่อส่งน้ำ ความยาวท่อ และความชำนาญในการติดตั้ง

การสร้างเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นศาสตร์หรือศิลปทางวิศวกรรมฯอย่างหนึ่ง เป็นออกเป็นสามส่วนหลักๆคือ
1) Solar farm section
ก็คือส่วนของการใช้แผงโซล่าฯผลิตกระแสไฟฟ้า เหมือนกับเรากำลังสร้างSolar farm ขนาดเล็กที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปขับมอเตอร์ของปัีมน้ำ จะวางแผงไว้แบบไหน แบกับพื้นดิน หรือวางบนหลังคา ตอกหลัก ทำคาน เอียงกี่องศา หันหน้าไปทางไหน ทุกองค์ประกอบล้วนมีผลต่อเนื้องานที่ได้และมีผลโดยตรงกับอายุการใช้งาน เช่นใช้เสาไม้ไผ่ทำที่วางแผง สามเดือนปลวกกิน ต้องทำใหม่
2) Pump and Control section
เป็นขั้นตอนการพิจารณาเลือกว่าเราควรจะใช้ปั๊ม แบบใด ชนิดใด ซึ่งผุ้เขียนเลือกใช้ปั๊มชักPVR49
มีต้นกำลังเพียง300วัตต์ ตอนนั้นราคาคาแผงอย่างเดียวเกือบหมื่น เลยต้องทำโครงเหล็กเลี่ยมกรอบแบบพระสมเด็จ กันขโมย ใช้BLDC.350วัตต์24 vdc & bldc motor controller with sun scan ถ้าจะใชัแบบอื่นก็ได้เช่นปั๊มหอยโข่ง แต่ต้องใช้แผงเยอะ และทางด้านดูด ปั๊มชัก PVR49 ดูดได้ลึกสูงสุดคือ8เมตร เกินกว่านี้ไม่แนะนำเพราะน้ำจะเริ่มแตกเป็นฟอง ( g=9.81 nm.)
3)Water Suction & supply pipe system.
เมื่อมีเครื่องสูบน้ำที่ดีแล้ว พลังงานเหลือเฟือแล้ว เราก็ต้องมีความรู้เรื่องของท่อสูบ และท่อส่งน้ำ
อุปกรณ์ต่างๆในการเพิ่มแรงดันส่งในท่อ เช่น แอเวย์ ถังแรงดัน และต้องพบกับนักเลงประจำถิ่น
เช่น มดง่าม งูเขียว งูจงอาง และ แรงปะทะย้อนกลับของมวลน้ำ (water hammer) ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป
ขอบพระคุณทุกๆท่านครับที่ช่วยกดคลิปดู มือเหี่ยวๆข้างบนก็คือมือผมเอง ถ่ายเองอีกมือ พูดบรรยายไปแบบสดๆ ตัดต่อเล็กๆน้อย ซึ่งผมได้รวบรวมทำเอาไว้มากมายครับ
เกี่ยวกับระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ อาชีพหลักๆของผมที่พอจะมีรายได้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่าเทอมลูกก็คือ เป็นผู้ผลิตตู้สวิชบอร์ดไฟฟ้า ทำมาตั้งแต่อายุ28ปี
ส่วนเรื่องโซล่าเซลล์ ก็ทำมาตั้งแต่เริ่มมีแผงโซล่าเซลล์เข้ามาในประเทศไทย เป็นศาสตร์ที่น่าหลงไหล เพราะเราต้องทำงานร่วมกับตัวแปรระดับขั้นเทพ คือ พระแม่ธรณี
พระแม่คงคา พระอาทิตย์หรือสุริยะเทพ และพระพายคือสายลม และสิ่งที่ได้คือความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงความสุข ที่ได้พบกับผู้คนมากมาย แน่นอน งานทุกอย่างมันก็ต้อง
มีปัญหาทั้งนั้น ใครว่าไม่มีปัญหา หรือว่าทำอะไรก็สำเร็จทุกๆอย่าง ผมว่าหายากนะ กว่าจะมาเขียนเล่าเป็นตุเป็นตะได้แบบนี้ ก็โดน water hammer กระแทกมาจนหลังอาน
หลายรอบแล้ว ขอแทรกขายของบ้างครับ ความรู้มีอยู่ทุกหนแห่งครับ พอทุกท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ยอดเยี่ยมมากครับ การเขียนบทความเชิงวิชาการให้คนอ่านได้โดยไม่เบื่อ
นั้นเป็นเรื่องยากจริงๆครับ แต่ในบทความก็จะมีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ คนอ่าน ร้อยคน พันคน หมื่นคน จะได้รับความเข้าใจไม่เท่ากัน และนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แตกต่างกัน
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ลองเริ่มลงมือสร้างประกอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิต์แบบต่อตรงขนาดเล็ก ได้เลยครับ จะแปะแหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์เอาไว้ให้ครับ ใครขาดอะไร ก็ไป
ตามหาเอาตามลิงค์ครับ
แผงโซล่าเซลล์มือสอง แผ่นเดียวก็ขาย
ถ้าขับมอเตอร์ 350วัตต์ 24vdc. ใช้1แผงถ้ามีตังเยอะเอามาเลย 2 หรือ3แผง
ถ้าหามอเตอร์ได้ 500วัตต์ ต้องใช้อย่างน้อยต้องใช้ 2แผง
ถ้าใช้มอเตอร์ 800วัตต์ 36vdc.ใช้ 4แผง
การต่อ อย่าให้ volts เกินมาก
ปั๊มชักสีทอง ท่อ1นิ้ว PVR49
สามารถรองรับมอเตอร์ได้ถึง1200วัตต์
แต่ความเร็วที่แกนปั๊มต้องไม่เกิน 375-500รอบต่อนาที ถ้าเดินเร็วมาก ชิ้นส่วนแกนชัก ข้อเหวี่ยง จะหลุด และอย่าเดินปั๊มตอนน้ำแห้ง ต้องให้ห้องปั๊มเปียกตลอด
ถ้าจะใช้ปัีมรุ่น2นิ้วก็ได้ แต่มอเตอร์ต้อง 500วัตต์ขึ้นไป 3แผงถึงจะดีครับ
BLDC MOTOR &Controller
หาซื้อใน Lasada หรือร้านค้า online ดูหลายๆที่ ราคามีหลายระดับ
การส่งกำลังถ้าทำได้ให้เลือกแบบต่อตรงด้วยคับปลิ้ง ความสูญเสียน้อยกว่าแบบ ขับด้วยสายพาน
Line id: prapondenco
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ ตอบช่วงกลางคืนครับ
รุ่น DCSP0248-500WP50 ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง 30ลบ.เมตร ทำงานได้เป็น2เท่าของ DCSP0124-300W-P25 รุ่นเล็ก เหมาะกับการเริ่มต้น เป็นเทคโนโลยี่ผสมผสาน
ที่สามารถทำความเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย ลองประกอบสร้างทำกันครับ ผมนำคลิปนี้มาให้ชม เพราะมีสาระเรื่องของการวัดอัตราการไหล เพราะการผลิตสินค้าประเภทเครื่องจักร
เครื่องสูบน้ำ เราก็ควรมีการทดสอบ สามารถ นับ ชั่ง ตวง วัดได้ ในคลิปจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราต้องทำการวัดอัตราการไหล ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นก่อนที่เราจะส่งเครื่องไปติดตั้งหน้างาน
ลองดูและทำความเข้าใจดังนี้ครับ
จากในคลิป การทดสอบครั้งแรก แรงดันในระบบ pressure = 0.0 bars. เมื่อเราสูบส่งน้ำในระดับพื้นดิน เราสามารถเติมน้ำเต็มถัง 22ลิตร ในเวลา 7 วินาที เทียบออกมาก็คือ 188ลิตร
ต่อนาที เมื่อคูณ60 ก็คือ ในหนึ่งชั่วโมงเราจะดันส่งน้ำได้ 11,280 ลิตร ต่อชั่วโมง ถ้าในหนึ่งวัน นับตั้งแต่ 9.00น.ถึง 15.00น. คือในรอบแดดจัดๆ6ชั่วโมง เราจะสามารถสูบส่งน้ำได้
67,680 ลิตร หรือ 67.68 คิวบิกเมตร หรือลูกบาศก์เมตรต่อวัน และช่วงหัวเช้า 7.00-9.00น. และหัวเย็น 15.00-17.00น.เครื่องก็ยังสูบน้ำได้ แต่ปริมาณน้ำ และแรงดันอาจจะลดหย่อนลง
ไปซึ่งปรกติแล้ว จะบอกกับลูกค้าว่า เครื่องนี้ถ้าสูบส่งแนวราบก็จะได้น้ำ 60คิว เป็นอย่างน้อย ส่วนที่เกินมาในช่วง หัวเช้า หัวเย็น เป็นของแถม ก็จะได้น้ำเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30% หรืออีก
18 ลบ.เมตร เป็นของแถม ซึ่งเราจะต้องคำนวนและอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจตามหลักวิศวกกรรมฯ

ถ้าการสูบส่งน้ำในแนวราบ ระยะทางและขนาดของท่อจะมีผล เราก็จะต้องคำนวนหาค่าเป็นกรณีไป
ถ้าลูกค้าต้องการสูบขึ้นถังเก็บน้ำบนเนินสูงขึ้นไปจากระดับผิวน้ำ20เมตร ในแนวดิ่ง เราก็ต้องทำการจำลองสภาพหน้างานด้วยการคำนวน ค่าแรงเสียดทานในระบบ จากความยาวท่อ ข้อต่อ ข้องอ และระดับความสูงในแนวดิ่ง เพื่อนำมาทำการปรับให้ระบบท่อทดสอบ มีแรงเสียดทานคล้ายกับสภาพหน้างานมากที่สุด
Denco Submersible pump test เป็นเครื่องมือที่ผมใช้เพื่อจำลองสภาพหน้างาน เพื่อการทดสอบ เพื่อความมั่นใจว่าเครื่องของเราสามารถเอาชนะแรงต้านที่ปลายทางได้ ถ้าการคำนวนแรงเสียดทานรวมมีค่า TDH.เท่ากับ 20 เมตร ปั๊มน้ำตัวที่จะสามารถสูบน้ำขึ้นพิชิตยอดเนิน20เมตรได้
จะต้องสามารถทำแรงดันได้มากกว่า 2.0 บาร์
ขออธิบายอย่างง่ายให้เข้าใจก่อนว่า ถ้าเราจะสูบดันยกน้ำขึ้น 1 เมตร เราจะต้องใช้แรงดัน0.1bars.
ถ้าต้องดันยกน้ำ ขึ้นสูง20 เมตร เราต้องใช้แรงดัน = 20 เมตร x .01บาร์ = 2.0 บาร์
ถ้าจะถามที่มาที่ไปในเชิงคณิตศาสตร์ ก้ต้องร่ายกันยาว ของให้จำเอาไว้ว่าเอาค่า K=0.1คูณความสูง
ของยอดถัง หน่วยเป็น (เมตร ) หรือปลายทาง กับผิวน้ำ ที่เราสูบในแนวดิ่ง
เมื่อเราทราบแรงต้านแน่ชัดแล้ว เราก็ต้องทำปั๊มของเราให้สามารถสร้างแรงดันได้มากกว่าแรงต้าน
เราก็จะสามารถดันส่งน้ำได้ถึงที่หมาย

ลำดับต่อมาคือการวัดอัตราการไหล หรือปริมาณน้ำที่เราส่งไปที่ปลายทางได้ จะมีจำนวนกี่ลิตร ต่อนาที ต่อวัน พอใช้หรือไม่ เราต้องสามารถมีวิธีการตัดสิน
เรามองไปที่ภาพซ้ายมือ เตรียมเครื่องมือแบบนี้เอาไว้ ด้านซ้ายมือเราใช้สายยางต่อกับท่อขาออก หรือด้านดันส่ง ของปั๊มชัก หรือท่อออกของปั๊มบาดาล เวลาทดสอบ ก็เดินเครื่อง เดินปั๊มให้น้ำไหลมาทางถังน้ำด้านขวามือ ถ้าระดับปลายทางสูงรวม20เมตร เราก็คูณด้วยค่า k 0.1 bars จะได้ค่าเท่ากับ
20 เมตร x 0.1 basrs = 2.0 bars.
เราก็ไปทำการค่อย ปิดประตูน้ำลง ให้pressure gauge แสดงค่า 2.0 bars.
สิ่งที่เราจะได้ตอนนี้คือ
1) ปั๊มสูบน้ำของเรากำลังทำงานในสภาพที่เหมือนกับหน้างานจริงมากที่สุด คือกำลังออกแรงดันส่งน้ำขึ้นที่สูงปลายทาง20เมตร
2) ปริมาณน้ำที่ออกที่ปลายท่อทางด้านขวา จะเท่ากับปริมาณน้ำที่ส่งไปถึงปลายทาง
ไปหาภาชนะที่รู้ปริมาตรหรือความจุแน่นอน มารองรับน้ำ แล้วจับเวลาดูว่า มันเต็มถังในเวลากี่วินาที เราก็จะสามารถนำผลที่วัดได้มาคำนวน คาดการณ์ได้ว่า เครื่องสูบน้ำโซล่าเซลล์ของเราเครื่องนี้เมื่อโดนแสงแดด แล้วสามารถพิชิตยอดเนินสูง 20 เมตร ได้กี่ลิตร/นาที หรือในหนึ่งวันจะส่งน้ำขึ้นไปได้กี่ลิตร

การหาภาชนะมาเพื่อทำการวัด หรือรับน้ำ ก็อย่าใช้ขนาดเล็กเกินไป อย่างน้อยก็ต้องเป็นถังสี ปากเปิดกว้าง ขนาด22ลิตรขึ้นไป หรือไม่ก็เชื่อมขึ้นมาแบบในภาพ ใช้งานบ่อยๆก็ทำด้วยสแตนเลสเลย แต่อย่าใหญ่มาก เวลายกเทออกมันหนัก ขนาดที่เหมาะสมคือ 22 ถึง60ลิตรเราต้องการหาว่า
มีคำถามมาจากนราธิวาสว่า ถ้ามีแต่กะละมัง หรือภาชนะอื่น จะหาค่าความจุได้อย่างไร?
เอาวิธีแบบง่ายๆ สมมุติว่า มีกาละมังใบหนึ่ง เราต้องการหาว่า บรรจุน้ำเต็มจะเท่ากับกี่ลิตร
ให้ทำดังนี้
1) หากิโลชั่งของขนาดใหญ่ นำกะละมังเปล่า ขึ้นชั่ง สมมุติว่า หนักสองกิโล จดบันทึกไว้
2) เติมน้ำให้เต็ม บนกิโล ได้น้ำหนักเท่าใด เอาน้ำหนักถังเปล่าไปลบออก
กาละมังเปล่าหนัก 2.0 kgs.
เมื่อเติมน้ำเต็มกาละมัง ได้น้ำหนักรวม 26 kgs.
ดังนั้น เมื่อ 26 kgs(น้ำหนักน้ำ รวมกาละมัง) – 2.0 kgs( กะละมังเปล่า) =24 hgs.
กาละมังใบนั้นมีความจุเท่ากับ 24 ลิตร เพราะน้ำ1ลิตร หนัก 1 kgs.
ผมทำงานเกี่ยวกับระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์มาเป็นเวลาเกือบสิบปี ได้พบเห็นเพื่อนๆชาวช่างไฟฟ้า หรือช่างสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ บางท่านก็ประสบความสำเร็จ
ทำเป็นอาชีพหลัก มาถึงทุกวันนี้ บางท่านก็ท้อถอยเลิกไปประกอบอาชีพอื่น เพราะเมื่อสิบปีที่แล้วราคาของแผงโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ มีราคาสูง แผง300วัตต์ราคา
เกือบหมื่นบาท กว่าจะขายงานได้แต่ละงานต้องลดแล้วลดอีกจนแทบไม่เหลืออะไร ขุดดิน ฝังเสา เชื่อมคานรับแผงหน้างาน งานโยธาเพียบ ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น
มากมาย บางท่านเข้ามาทำงานในสายนี้ด้วยความจำเป็น ถามใครก็ไม่มีใครตอบ ใครบอก ใครสอน ทั้งคนขาย และคนซื้อ ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และในช่วงแรกๆ
ชาวบ้านอย่างเราก็ไม่มีโอกาสได้ทำ Solar Farm
ผมก็ขอมอบบทความนี้ให้กับพี่น้องผองเพื่อน ทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็ก ทีประกอบอาชีพทางด้านช่างไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้าอุตสาหกรรม และไฟฟ้าระบบ Solar cell ส่วนมากผมจะ
ทำแต่งานสูบน้ำ เพราะเป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะได้ไปเที่ยวต่างจังหวัด ได้มีโอกาสพบกับผู้คนมากมาย จึงขอมอบบทความนี้ให้กับเพื่อนๆชาวไร่ชาวนา ช่างไฟฟ้า ช่างโซล่าเซลล์
ที่อุดหนุนสินค้า ของผมมาโดยตลอด ผมเชื่อว่า ข้อมูลต่างๆที่เขียนมาถึงทุกๆท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจของทุกๆท่าน ขอให้ทุกๆท่านอ่านแล้วเข้าใจ สามารถ
นำเอาไปใช้ประโยชน์ ใช้งานได้ บางสูตรคำนวน ศัพย์บางคำ ผมบัญญัติขึ้นมาเอง จากประสบการณ์การทำงาน ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจครับ
23 กค65
รวม บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ในการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิย์
การสร้างระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ด้วยตนเอง