เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการสูบน้ำขึ้นผาลำดวน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขาภูหลวง นครราชสีมา

         วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่8ธันวาคม2562 ผู้เขียนไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหน เพราะกำลังออกแบบและคำนวนค่าต่างๆเพื่อที่จะหาวิธีการใช้เครื่องสูบน้ำ
รุ่น DCSP0124-300W-P25 หรืออาจจะต้องใช้ปั๊มบาดาลเพื่อสูบน้ำจากบ่อน้ำซับด้านล่าง ขึ้นส่งไปเติมให้ เลียงผา บนยอดเนินที่สูงขึ้นไปในระดับแนวดิ่ง
ประมาณ 23-25 เมตร จากข้อมูล ซึ่งในงานนี้เราคงต้องพบกับแรงน้ำตีกลับ หรือ water hammer และชั่วโมงของแสงแดดที่จำกัด  วันนี้รู้สึกมีพลังลึกๆ                                                                          จากการที่เริ่มเป็น” คนบ้าแดด ” หรือเริ่มเสพติดการออกแบบเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อแปดปีก่อน เริ่มผลิตเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ขาย                                                                    และเดินทางออกไปดูการติดตั้งหน้างานด้วยตนเอง เพราะอยากจะได้ความจริงในหลายๆเรื่อง ซึ่งบางอย่างเราก็ต้องออกไปเรียนรู้ความจริง ด้วยตนเอง                                                                         วันนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่จะได้ใช้ความรู้ของคนบ้าแดด สูบดันส่งน้ำขึ้นไปให้กับ ราชาแห่งขุนเขาภูหลวง เลียงผา ของป่าภูหลวง นครราชสีมา

ภภาพของเจ้าหน้าที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาภูหลวง  นครราชสีมา ที่ต้องแบกถังน้ำ ไต่ขึ้นไปตามป่าเขาที่สูงชัน เพื่อนำน้ำไปเติมบ่อตามจุดต่างๆ
ที่มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ และมีสัตว์ป่าหายากที่ใกล้จะสูญพันธ์นั่นคือ เลียงผา 

  ผู้เขียนได้เห็้นภาพนี้แล้ว ก็มีความคิดพลุ่งพล่านไปต่างๆนานาๆ เลียงผา ป่าไม้ และสัตว์ป่าทุกชนิด เป็นสมบัติของชาติ เป็นของคนไทยทุกคน เจ้าหน้าที่ทั้ง4ท่านนี้
แบกภาระเอาไว้บนหลัง เดินไต่ลัดเลาะแนวป่าและพื้นหินที่สูงชัน น้ำหนึ่งลิตรหนักหนึ่งกิโลกรัม ถังที่แบกนี้ประมาณ30ลิตรก็เบากว่าปูนซีเมนต์หนึ่งลูก เล็กน้อย
พอถึงที่หมาย ก็จะนำน้ำมาเทเอาไว้ตามแอ่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ ซึมหายลงไปในหินบ้าง ถูกแสงแดดเผาทิ้งไปบ้าง สุดท้ายก็ยังมีเหลือพอให้สัตว์ป่าประทังชีวิต

  เป็นความโชคดีที่เจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาภูหลวง ท่านมีความชำนาญในการใช้แผนที่และเครื่องมือ GPS.จึงสามารถให้ข้อมูลหน้างานกับผู้เขียนอย่างชัดเจน
เริ่มจากทางด้านซ้ายมือเป็นบ่อน้ำซับ คือมีตาน้ำเล็กๆ และมีน้ำผุดขึ้นมาเรื่อยๆตลอดเวลา อยุ่ที่ระดับความสูง 496 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งตาน้ำอยู่ในป่า ต้องเดินเท้ามา 97เมตร
และต้องเดินท่อไปอีก 140เมตร ถึงถนนที่ระดับความสูง 519เมตร  และเดินทางไปอีก 22เมตรก็จะถึงถังเก็บน้ำ ที่ผาลำดวน
   ระยะทางในแนวราบ = 97+140+22 =259 เมตร ความสูงชันรวม = 519-496 =23 เมตร (TDH.)
    และจากผาลำดวนต้องการ ดันส่งไปที่อ่างหินที่ระดับ 563 TDH.รวมเท่ากับ 44เมตร ระยะทาง 738 เมตร

ใในเบื้องต้นสรุปได้ว่า ที่ระดับความสูงของผาลำดวน คือ TDH=23 เมตรนั้น เครื่องสูบน้ำ DCSP0124-300W-P25 ซึ่งสามารถสูบน้ำได้ดีที่ TDH.ไม่เกิน 20 เมตร หรือ pressure 
แสดง 2.0 bars. ผู้เขียนจึงได้ออกแบบระบบการสูบน้ำนี้ ใช้ปั๊มบาดาลเป็นตัวทำงาน 

ขข้อจำกัดของการทำงานในเขตป่าสงวนก็คือ เราต้องรักษาสภาพเดิมของป่าเอาไว้ ต้องหาตำแหน่งที่ตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถรับแสงแดดได้ตลอดวัน หรือมีเวลา
รับแสงแดดได้นานที่สุด ในแต่ละวัน และห้ามตัดต้นไม้ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติตรงบริเวณนั้น
  ผู้เขียนจึงออกแบบชุดติดตั้งปั๊มบาดาล ชุดกรองกันเศษใบไม้ สำหรับวางปั๊มในบ่อน้ำซับ  และการวางท่อ การติดตั้ง IN Line Check Valve เพื่อป้องกันแรงมวลน้ำตีกลับ
หรือ Water Hummer Force Return เมื่อเวลาที่แสงแดดอ่อน หรือมีเมฆเคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์  เพื่อสูบน้ำจากบ่อน้ำซับ ขึ้นไปสู่ถังเก็บน้ำของผาลำดวน
แล้วส่วนที่เหลือ ค่อยหาเครื่องมาสูบดันขึ้นอ่างหินอีกรอบหนึ่ง

การทำงานออกแบบระบบสูบน้ำ ผู้เขียนจะใช้โปรแกรม Auto Cad เพื่อเขียนแผนผังการเดินท่อ การปรับแต่งให้แอ่งน้ำซับมีความลึกมากขึ้น เพื่อการสะสมน้ำได้ปริมาณมากขึ้น
ปั๊มบาดาลรุ่นนี้ขนาด 500 วัตต์ สูบน้ำได้ 3000ลิตร/ชั่วโมง ที่ความสูง 54 เมตร

 ขอกระซิบดังๆ ให้กับทุกๆท่านได้ทราบว่า การทำงานดันน้ำขึ้นเขา ด้วยปั๊มบาดาลนั้น ควรเลือกใช้ปั๊มแบบใบพัด (Impellers) ภาพซ้ายมือ เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำที่มากกว่า
แบบสกรู (Screw Type) ภาพขวามือ และในการทำงานจริงปั๊มบาดาลแบบสกรู จะเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่าแบบใบพัด เพราะการทำงานที่ต้องใช้แรงดันสูง ที่ต้องเกิดจาก
การเบียด การรีด ของร่องสรู จึงเกิดอาการ ” แกนหลุด ” หรือ ” แกนหวาน ” ได้ง่าย โดยเฉพาะปั๊มที่มีคุณภาพหรือเกรดรองๆลงมา ประมาณปีกว่าๆก็ออกอาการ และในบางโอกาส
ที่มีเศษกรวด หิน กิ่งไม้ เข้ามาเรือนปั๊ม ก็จะเกิดอาการชำรุด สูบน้ำไม่ขึ้น 
    แรงดันที่ปั๊มแบบ Screw สามารถสร้างทำได้จะสูงกว่าปั๊มแบบใบพัด จากการทำงานเรื่องปั๊มบาดาลในลักษณะนี้จะพบว่า พระเอกตัวจริง จะเป็นปั๊มแบบใบพัดมากกว่าครับ
ก็แล้วแต่ว่าทางใครทางมันครับ ผมชอบออกแบบให้ใช้งานจนลืม ไม่ต้องซ่อมบำรุงอะไรกันมากมาย ลูกค้าก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆแบบการแนะนำต่อๆกันไปครับ สินค้าเครื่องสูบน้ำ
บาดาลระบบโซล่าเซลล์ มีสินค้าจากประเทศจีน ไหลทะลักเข้ามา มีทุกรูปแบบ มีตั้งแต่ระดับคุณภาพราคารถซาเล้ง ไปจนถึงระดับ เรมโบกีนี่ เลือกใช้กันตามความพอใจ และ
งบประมาณ ถ้าต้องการใช้งานนานๆ เป็นสิบปี ก็มองหาแบบที่ผมใช้งานหรือประกอบขายครับ หาไม่ได้ก็มีจำหน่ายครับ

 







สำหรับปั๊มบาดาลขนาดเล็ก สูบส่งน้ำประมาณวันละ 15ลบ.เมตร หรือ15000ลิตร
ผมจะใช้ Solar Pump Inverter รุ่นนี้ สั่งมาแบบ OEM. แล้วนำมาปรับแต่งเล็กน้อย
ตามประสาของคนชอบแต่ง ชอบทำ เพื่อรีดประสิทธิภาพ ออกมาให้มากที่สุด
    อุปกรณ์มีครบทั้งเครื่องวัดระดับน้ำ และที่สำคัญที่สุดคือ มีระบบ MPPT. ของแท้
ที่ประกอบมาแบบ Built In 




     ปั๊มบาดาลจะถูกติดตั้งอยู่ในกรอบสเตนเลส ที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อ
ป้องกันไม่ให้ใบไม้ เศษกิ่งไม้ ใบหญ้าไหลเข้าสู่ตัวปั๊ม หรือถูปปัีมสูบเข้ามา
และเป็นตัวประคองปั๊มให้ยืนตรง เพื่อให้เซนเซอร์วัดระดับน้ำ ทำงานเป็นปรกติ

ผผมเพิ่มแผงไปอีกแผ่นหนึ่ง เพื่อให้สามารถทำงานได้ในช่วงฤดูหนาวที่ฟ้าจะอึมครึม เมื่อประกอบเสร็จก็ตั้งทดสอบกับแสงแดดแบบตรงๆ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น
ต้องเฝ้าสังเกต ความสมบูรณ์ของระบบควบคุมการทำงาน เซนเซอร์ ควบคุมระดับน้ำ ฯลฯ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของระบบ
การตัดต่อ และการ Re run ของระบบรวมถึงแรงดันที่สามารถทำได้ในแต่ละช่วงเวลาของแสงแดด

เมื่อทดสอบประสิทธิภาพได้ตรงตามที่ออกแบบเอาไว้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขาภูหลวง จึงเดินทางมารับเครื่องที่โรงงานของบริษัทฯ

 อุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลทางด้านเทคนิค รวมถึงวิธีการต่างๆ ทางบริษัทฯได้เตรียมเอาไว้ให้อย่างพร้อมสรรพและสมบูรณ์ การติดตั้งในป่า ในเขาจริงๆนั้นมีหลายสิ่ง
หลายอย่างที่ต้องเตรียมเอาไว้ให้เรียบร้อย ความสามบูรณ์และอายุการใช้งานจะมาจากคุณภาพอุปกรณ์และประสบการณ์ในการติดตั้ง

  ในโครงการนี้ทางบริษัทฯได้ทำการสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลต่างๆให้กับทางเจ้าหน้าที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าเขาภูหลวง เพื่อเป็นกำลังใจให้กับ
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่หน้างาน ในช่วงเวลาที่ผมได้ติดต่อประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ ผมสามารถรับรู้ได้ถึงพลังของความมุ่งมั่น ของเจ้าหน้าที่ ภาพที่แบก
ถังน้ำขึ้นเขาไปเติมให้กับเลียงผา และสัตว์ป่าหลายชนิดที่อยู่บนเขา  สร้างความภูมิใจให้ผู้เขียนเป็นอย่างสูง ถึงสิ่งที่ทางเราได้สนับสนุนจะมีมูลค่าไม่สูงมาก
แต่ความรู้ที่ได้ จากการค้นคว้า ค่าของตัวเลขต่างๆ  และประสบการณ์ในการออกแบบครั้งนี้  ปลุกให้ผู้เขียนตื่นขึ้นมาจากความเหนื่อยล้าในการทำงานแบบ
หามรุ่งหามค่ำมานานหลายปี รู้สึกมีพลังขึ้นมา โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องดื่มบำรุงกำลังใดๆ  ทางหน้างานก็ยังส่งข่าว ส่งภาพของสัตว์ป่าหลายชนิด ที่เริ่มขยายพันธ์
และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
   ขอบคุณที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดีๆแบบนี้ครับ ท่านใดได้ อ่านแล้วจะส่งข้าวของเครื่องใช้ไปเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ ก็มีที่อยู่ปรากฎอยู่
ในจดหมายขอบคุณเรียบร้อยแล้ว  ผมหยุดยาวหลายวัน คงได้เริ่มทำงานวันแรกพรุ่งนี้ เลยหยิบเรื่องนี้ ขึ้นมาเขียนบันทึกเอาไว้ในความทรงจำ
     4 มกราคม2566

นายประพนธ์ ประทุมถิ่น