
ในบทความที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เขียนทำความเข้าใจกับท่านผู้ชมที่ติดตามผลงานของผู้เขียนมาโดยตลอด ผู้เขียนพยายามเขียนถึงคุณประโยชน์
ของการนำเอาพลังงานแสงอาทิต์มาใช้ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และในยุคสมัยหลังจากทุกๆคนพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และผลกระทบจากโรคระบาด โควิท19 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลายครอบครัวต้องเดินทางกลับสู่บ้านเกิด เพื่อทำอาชีพเกษตรกรรม บางครอบครัวมีพื้นที่ทำกิน อยู่ห่างไกลจากระบบไฟฟ้าพื้นฐาน ไม่มีทั้งน้้ำประปา และแสงสว่างในเวลากลางคืน แต่ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ และทุกๆคนควรเรียนรู้ในความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำพาให้ตนเอง และครอบครัว รวมถึงชุมชน ก้าวข้ามวิกฤตการต่างๆไปได้อย่างงดงาม ” อัตตาหิ อัตโนนาโถ ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน การอ่านศึกษหาความรู้แล้วนำมาใช้ในการสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตนเองจึงเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่น่าสนใจของท่านผู้นำ

พื้นฐานการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
การสูบน้ำด้วยปั๊มน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำ ซึ่งจะต้องมีกระแสไฟฟ้ามาป้อนเติมให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้ใบพัด หรือลูกสูบของปั๊มน้ำหมุน หรือเคลื่อนที่ เพื่อทำการผลักดันมวลน้ำให้เคลื่อนที่ตามท่อส่งน้ำไปยังจุดหมายปลายทางหรือถังเก็บ ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จะประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก3 อย่างคือ
1) ชุดต้นกำลัง (Power plant/Solar farm)
ซึ่งก็จะหมายถึงแผงโซล่าเซลย์ ที่ต่อวงจรรวมกันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อมีแสงแดด
2) ชุดควบคุม ( Controller/ Transformer/ solar pump inverter)
หมายถึงกล่องควบคุม ชุดแปลงไฟฟ้า และชุดควบคุมการทำงานของมอเตอร์
3) ชุดตัวทำงาน ( Working equipments)
หมายถึงอุปกรณ์ทำงานต่างๆ เช่นปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ มอเตอร์ พัดลม เครื่องสีข้าว เครื่องรีดยาง เตาอบ ฯลฯ ที่เราสามารถประยุกต์ใช้งานได้
เรื่องระบบการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อาจจะดูยาก และซับซ้อน เพราะมีอุปกรณ์หลายอย่างที่เกี่ยวกับไฟฟ้า และมีสายไฟฟ้ามากมายหลายเส้น รวมถึงแผงโซล่าเซลย์ก็มีหลายประเภทหลายชนิดหลายแบบ แต่ไม่ต้องไปกังวล ขอเพียงให้มีอุปกรณ์อยู่ในมือของเรา หรือว่าเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่เรามีกำลัง จัดซื้อ จัดหามาได้ก็เพียงพอแล้วครับ อ่านบทความหลายๆรอบแล้วค่อยๆทำตามไป จะพบกับความสำเร็จได้ไม่ยากครับ อย่าไปสนใจว่าเราจะอ่านกี่รอบ อ่านจนสามารถทำความเข้าใจ และนำความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ได้ก็พอสำหรับเราครับ ขอทบทวนบทความเดิมและปรับปรุงบางส่วนให้ทันสมัยขึ้นครับ
การออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยการใช้ปัํ๊มชักเป็นตัวทำงาน เป็นงานพื้นฐานขนาดเล็ก และขนาดกลาง สามารถสูบน้ำได้ 12 ลบ.เมตร ถึง 30 ลบ.เมตร โดยหัวใจหลักคือการเรียนรู้คุณสมบัติของปั๊มชักที่สามารถทำงานสูบน้ำได้ดีในความเร็วรอบ 300-400 rpm. พร้อมทั้งได้ทำข้อมูลต่างๆ เอาไว้ให้ เพื่อเป็นความรู้และวิชาการสาธารณะเพื่อประชาชนชาวไทย ได้นำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เป็นบทความที่เขียนบรรยายถึงการทำเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่ายฝากผลงานไว้ในแผ่นดินเกิด.
การออกแบบระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์
บทนี้เขียนให้กับเพื่อนๆ มิตรรักแฟนเพลง ในวงการไฟฟ้า และท่านที่สั่งปั๊มบาดาล สั่งแผงโซล่าเซลย์ข้ามาจำหน่าย ผมเขียนแนะนำให้ตั้งแต่ขั้นตอนพื้นฐาน ใช้แผงกี่แผง หย่อนปั๊มน้ำลงบ่อลึกกี่เมตร วิธีวัดอัตราการไหล วิธีคำนวนเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า ในแต่ละวันจะสามารถสูบน้ำขึ้นมาให้ใช้ได้ กี่ลูกบาศก์เมตรเอาเป็นว่าอ่านบทนี้แล้วสามารถรับงานติดตั้งได้ทุกพื้นที่ครับ บ่อเก่า บ่อใหม่ ได้ทุกรูปแบบครับ
บทนี้เป็นงานการออกแบบปั๊มสูบน้ำแบบปั๊มหอยโข่ง เป็นระบบขนาด 2 แรงม้า ไปจนถึง100 แรงม้า เป็นระบบไฟฟ้า AC.380 V. Single phase /3 phase. สำหรับพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ ต้องใช้น้ำในปริมาณสูงต่อวัน ขับเคลื่อนระบบสปริงเกอร์ เป็นงานโครงการ หรือปรับปรุงให้เดินได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบใหญ่มีราคางบประมาณที่สูง ให้การปรึกษาและออกแบบระบบไฟฟ้าและระบบท่อจ่ายน้ำ ฯลฯ