ปปั๊มสูบน้ำบาดาลจะมีฉลากติดมาที่ตัวปั๊ม เพื่อให้เราทราบขนาดและรายละเอียดที่จำเป็นเพื่อที่จะเลือกนำมาใช้งานได้ตามวัตตถุประสงค์ สำหรับท่านที่มีปั๊มอยู่แล้ว
หรือว่าสั่งเข้่ามาขายก็ต้องเริ่มศึกษาทำความเข้าใจครับว่า อะไรหมายถึงอะไร?

ค่าที่สำคัญเช่น ความสามารถสูงสุดในการดันส่ง TDH. (Total Dynamic Head) ในบางโอกาสก็จะถูกย่อลงเหลือแค่ H
จากฉลากข้างบนที่เขียนเอาไว้สั้นว่า H=69m. ซึ่งก็หมายถึงความสามารถในการดันส่งสูงสุดของปั๊มตัวนี้ก็คือ 69เมตร
เมื่อเรามองไปที่สาระอื่นๆจะพบรายละเอียดอื่นๆ

 

Q=2 m3/h หมายถึง ปริมาณน้ำที่สูบส่งได้คือ 2ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง(2000ลิตร/ชั่วโมง)

 

Voltage :48VDC. ซึ่งหมายถึงว่าเป็นปั๊มบาดาลใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสตรง 48 โวลล์ 

 

Power : 500 W. หมายถึงกำลังของมอเตอร์ที่ต้องการคือ600วัตต์หรือประมาณ3/4แรงม้า หรือเกือบ 1 แรงม้า

 

I.max : 13 A. คือปั๊มตัวนี้กินกระแสไฟฟ้า 16 แอมป์ เราก็ต้องเตรียมสายไฟฟ้าที่ทนกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ได้ เกินได้แต่อย่าขาด

 

RPM:3000 คือความเร็วรอบสุงสุดของปั๊มตัวนี้คือ 3000รอบต่อนาที

 

นอกนั้นก็จะเป็นแถบบาโค๊ทซึ่งอาจจะแปะเอาไว้ให้ดูเท่ย์ๆ และรุ่นทางการค้าของผู้ผลิต

 

   ผู้เขียนขอเขียนเรื่องฉลากปั๊มอย่างละเอียดก่อนเพราะการซื้อปั๊มหรือเลือกปั๊มโดยอ่านฉลากไม่เข้าใจก็จะมีผลคล้ายๆกับการกินยาไม่เขย่าขวด เพราะถ้าเราอ่านผิดหรือว่า
ไม่เข้าใจตรงนี้อาจจะทำให้เราตัดสินใจผิด เลือกปั๊มที่ไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมานานับประการ ซื้อมาใช้เองก็ไม่ได้น้ำมากดังใจ ซื้อไปติดตั้งให้ลูกค้าก็ได้น้ำ
ไม่เป็นที่พอใจ   ตรงจุดที่สำคัญคือความสามารถสูงสุดในการดันส่ง TDH. (Total Dynamic Head) และ Q=2 m3/h หมายถึง ปริมาณน้ำที่สูบส่งได้คือ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
(2000ลิตร/ชั่วโมง) 

 

 ซึ่งค่าของแรงดันส่งกับปริมาณน้ำจะแปรผันกันโดยตรง อธิบายง่ายๆก็คือ ปั๊มตัวนี้

ถ้าสูบน้ำที่ความลึก 1 เมตรจะสามารถดันส่งน้ำได้ 2000ลิตรต่อชั่วโมง ถ้าสูบน้ำที่ความลึก 69 เมตรจะสามารถดันส่งน้ำได้ประมาณ28.98 ลิตรต่อชั่วโมง ถึงถ้าจับข้อมูล
ในฉลากมาเคาะๆหาความจริง พอจะอนุมาณได้ว่า จากฉลากที่ติดไว้ ถ้ามีการทดสอบจริงๆ ไม่ได้ลอกกันมา ย่อมแสดงว่า คุณสมบัติของปั๊มตัวนี้จะแปรผันไปตามหลัก
วิทยาศาสตร์ก็คือทุกๆระดับความลึก1เมตร ปริมาณน้ำที่สูบได้จะแปรผันขึ้นลง มากขึ้นหรือลดลงที่ประมาณ 28.98ลิตร

      ทำความเข้าใจตรงนี้ดีๆครับ เพราะฉลากปั๊มนั้น เขาจะระบุมาเป็นค่าสูงสุด ก็คือสูบส่งน้ำได้จำนวน 2000ลิตร ต่อชั่วโมงถ้าหย่อนปั๊มน้ำลงในบ่อที่ ความลึกของน้ำลึกเพียง 1 เมตร
แต่ถ้า หย่อนลึกลงไปกว่านั้น หรือระดับน้ำจับท่อยิ่งลึกมากขึ้น ปริมาณน้ำที่ปั๊มตัวนี้สามารถสูบส่งได้ก็จะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงความลึกที่เกินกว่า 69 เมตร ความสามารถในการ
ดันส่งน้ำขึ้นมาบนผิวดิน ก็จะสิ้นสุดลงหรืออาจจะเรียกว่า ” หยดสุดท้าย”

     ซึ่งถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็จะอ่านฉลากแล้วตีความอย่างผิดๆว่า ปั๊มบาดาลตัวนี้สามารถดันส่งน้ำจากความลึกสูงสุด69 เมตรจากผิวดิน และสามารถดันส่งน้ำจากระดับความลึกดังกล่าว
ได้ถึง 2000ลิตร หรือ 2 ลบ.เมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นคนละเรื่องเดียวกัน สำหรับท่านที่ทราบแล้วก็ยินดีด้วย สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ทำความเข้าใจดีๆจะได้ไม่พลาด
ครับข้อเขียนบทความ ขอเขียนเพื่อผู้ที่สนใจทุกระดับวัย และคุณวุฒิ ก็สามารถเก็บเกี่ยวความรู้ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้

      ค่าที่ผู้ผลิตนำมาเป็นข้อมูลในการพิมพ์ฉลาก เป็นค่าทดลองในห้องทดสอบของโรงงานผู้ผลิตปั๊มตัวนี้ ซึ่งถ้าเรานำเอาค่า TDH.มาใช้งานเลยโดยไม่เข้าใจก็จะทำให้
เกิดความผิดพลาดเพราะเราไปเอาค่าสูงสุดมาใช้งาน ถ้าค่าของฉลากปั๊มตัวนี้มาจากห้องทดสอบของผู้ผลิตจริงๆ ไม่ใช่ฉลากลอกเขามา(ซึ่งพบมากในบางประเทศ)
เราพอจะอนุมานได้ว่า ถ้าเราป้อนไฟฟ้าให้กับปั๊มบาดาลตัวนี้500วัตต์ แล้วหย่อนปั๊มลึกที่ระดับน้ำจับท่อ 35.5 เมตร เมื่อเอาถังมารองน้ำที่ปากบ่อ เราควรจะได้น้ำที่ 1000ลิตร
ในเวลา1ชั่วโมง หรือ 16.667 ลิตร ในเวลา 1 นาที

     เราสามารถใช้วิธีง่ายๆในการคำนวนโดยเทียบบัญญัติแทนค่า เพื่อหาค่าประมาณการที่ต้องการทราบ ซึ่งผู้เขียนจะใช้วิธีการนี้เป็นการเริ่มต้นประมาณการในการออกแบบ
ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ตัวอย่างเช่น จากค่าฉลากของปั๊มที่ระดับความลึกของน้ำจับท่อ 16.667เมตร สูบน้ำได้ 1000ลิตรถ้าเราต้องการทราบว่า ถ้าเราจะเอาปั๊มตัวนี้ไปสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อบาดาล
ที่มีระดับน้ำจับท่อลึก25เมตร เราจะได้น้ำกี่ลิตร/นาที?

แทนค่า ที่ระดับความลึกของน้ำจับท่อ 16.667เมตร สูบน้ำได้ 1000ลิตร ถ้าที่ระดับ25 เมตร

= 1000 x 16.667 /(หารด้วย) 25 = 666 ลิตร/ชั่วโมง

เป็นวิธีการคำนวนแบบคร่าวๆที่ผู้เขียนใช้ประกอบในการออกแบบและเลือกปั๊มบาดาล ฉลากที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างเป็นปั๊มบาดาลขนาดเล็ก กำลังเพียง500วัตต์
และเป็นแบบสกรูจึงได้ TDH. 69 เมตร แต่ปริมาณของน้ำจะส่งได้ 2000ลิตร/ชั่วโมงเท่านั้น อ่านทบทวนหลายๆรอบทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความผิดพลาด

     เราสามารถคิดแบบง่ายๆได้อีกวิธีก็คือ เอา Q หรือปริมาณน้ำสูงสุดที่สูบได้ 2000 ลิตร หารด้วยTDH.คือความสามารถในการดันส่งสูงสุด 69 เมตร เราพอจะอนุมานได้ว่า
ทุกๆความลึกที่เพิ่มขึ้น 1 เมตร ปริมาณของน้ำที่สูบส่งได้จะลดลง = 2000/69 =28.98 ลิตร ในสภาพการทำงานเดียวกัน

      ในบทนี้ผู้เขียนคาดหวังว่าท่านที่ได้ศึกษาจะสามารถอ่านฉลากปั๊มเข้าใจ และสามารถนำเอาข้อมูลนี้มาใช้ประโยชน์ในการออกแบบระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป
 ฉลากปั๊มถ้าเป็นข้อมูลจริง มีการทดสอบจริงๆ ก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าเป็นฉลากปั๊มที่ลอกเขามา เหมือนๆกับที่เรามักจะได้ยินเสมอๆว่า “ ปั๊ม2แรงใช้แผ่น8แผ่น เหลือเฟือ “
ถ้าจะทำงานระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ให้รอด หรือเป็นอาชีพที่ก้าวหน้ามั่นคง เราต้องหาความรู้และกระบวนการพิสูจน์ทราบที่ชัดเจน และต้องมีความมุ่งมั่นและรักในงานอาชีพ
ที่ตนเองรัก แล้วความสำเร็จ รายได้ก็จะตามมาเอง เป็น animals will do หรือสัจธรรม

    พออ่านฉลากเป็นแล้ว ในลำดับต่อไปก็ต้องทำการ สอบฉลาก หรือพิสูจน์ทราบว่า ค่าต่างๆบนฉลากปั๊มที่ติดมานั้น เป็นความจริง มากน้อยเพียงใดด้วยวิธีการในบทต่อไป
ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าฉลากนั้น ของจริงจากการทดสอบ หรือว่าลอกกันมา แล้วผู้เขียนโม้หรือเปล่า ในการสูบน้ำแบบธรรมดๆด้วยไฟฟ้าบ้าน ของการไฟฟ้า ก็ไม่ค่อยจะมีอะไร
มากมายนัก เพราะตราบใดที่เขื่อนภูมิพล ยังมีน้ำปั่นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า  แต่ถ้าเป็นการขับเดินปั๊มน้ำด้วยแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะมีความผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม และ
ปัจจัยต่างๆในช่วงเวลานั้น อาจจะเรียกได้ว่า เกิดอาการ ” วูบวาป ไปตามสภาพของแสงแดด ” บทความของผู้เขียนจึงเริ่มต้อนด้วยการปูพื้นความรู้ในสภาพปรกติ แะการป้องกัน
และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นตามมา ให้มองอุปสรรคต่างๆ เป็นความ ” ฮา ” ซึ่งในตอนที่เราพบกับปัญหาของชีวิต มันแสนรันทด แต่พอเราสามารถปลด หรือแก้ได้ มันจะ
กลายเป็นความ ” ฮา ” ในอดีตทันที  ในลำดับต่อไปนี้ กดคลิ๊กไปที่ภาพ เพื่อศึกษาความ  ฮาบทต่อไปครับ